iso45001 4 4sm

 

4.4          ระบบบริหาร OH&S

องค์กรต้องจัดตั้ง, นำไปปฏิบัติ, ธำรงรักษา และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สำหรับระบบบริหารด้าน OH&S, โดยรวมกระบวนการที่จำเป็นและปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ,ตามข้อกำหนดของเอกสารนี้

 

ข้อสังเกต

คำว่า "งค์กรต้องจัดตั้ง, นำไปปฏิบัติ, ธำรงรักษา และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สำหรับระบบบริหารด้าน OH&S " หมายความว่า องค์กรต้อง P-D-C-A ระบบบริหารOH&S ซึ่งไม่ยากต่อการทำความเข้าใจแต่อย่างใด

คำว่าจัดตั้ง ( establish) แปลว่า สถาปนา ก่อตั้ง จัดตั้ง ซึ่งมีความหมายง่ายๆคือไม่ใช่เรื่องชั่วคราว ไม่ใช่โครงการ หากท่านไม่ได้ทำจริงทำจัง ทำระบบการบริหารเฉพาะให้เป็นกระดาษ เฉพาะเพื่อโชว์ ย่อมไม่ใช่เป็นการจัดตั้ง ( established)   ท่านจึงจำต้องทำการการควบรวม ผสาน ระบบการบริหารกับการดำเนินธุรกิจประจำวันของท่าน คำว่าเป็นไปตาม ตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้ หมายถึง องค์กรต้องทำให้ระบบการบริหารขององค์กรมีองค์ประกอบที่ครอบคลุมกับข้อกำหนดของมาตรฐานISO 45001 อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

 

คำว่า "โดยรวมกระบวนการที่จำเป็นและปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ,ตามข้อกำหนดของเอกสารนี้" 

คำว่ากระบวนการที่จำเป็น คือ กระบวนการที่จำเป็น ที่จำเป็นเพราะเป็นกระบวนการทีสำคัญต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรตามจุดประสงค์องค์กรที่ต้องการ ซึ่งรวมถึง ผลลัพธ์ที่ต้องการจากระบบ จุดประสงค์องค์กร ความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ป้องกันและควบคุมความเสี่ยง   กระบวนการทีไม่สำคัญ ไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องไปยุ่ง ไม่ต้อง PDCA มากมายอะไร

กระบวนการที่จำเป็นที่มาตรฐาน ISO 45001 กำหนดไว้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่จำเป็น

ตัวอย่างกระบวนการที่จำเป็น ผ่านการกำหนดโดยมาตรฐาน ISO 45001 ดังนี้

ข้อกำหนด

รายละเอียด

5.4

องค์กรต้องจัดทำ นำไปปฏิบัติ และธำรงรักษา กระบวนการต่างๆสำหรับการมีส่วนร่วม (participation)และการปรึกษา

6.1      

กระบวนการ และ กิจกรรมที่จำเป็นเพื่อพิจารณาและจัดการกับความเสี่ยงและโอกาส(ดูที่ 6.1.2 ถึง 6.1.4), ในขอบเขตที่จำเป็นเพื่อมีความมั่นใจว่าได้มีการกระทำตามแผน

6.1.2.1.

องค์กรต้องจัดทำ นำไปปฏิบัติ และธำรงรักษา กระบวนการ เพื่อการระบุอันตรายที่มี

6.1.2.2

องค์กรต้องจัดทำ, นำไปปฏิบัติและธำรงรักษากระบวนการ เพื่อ ประเมินความเสี่ยงด้านOH&S

6.1.2.3

องค์กรต้องจัดทำ, นำไปปฏิบัติและธำรงรักษากระบวนการ ในการประเมินโอกาสในการยกระดับสมรรถนะด้านOH&S

6.1.3  

องค์กรต้องจัดทำ นำไปปฏิบัติและธำรงรักษา กระบวนการ เพื่อ พิจารณาและเข้าถึงข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ

7.4.1

องค์กรต้องจัดทำ, นำไปปฏิบัติ และ ธำรงรักษา กระบวนการที่จำเป็นสำหรับการสื่อภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารOH&S

8.1.1

องค์กรต้องวางแผน, นำไปปฏิบัติ, ควบคุม และ ธำรงรักษา กระบวนการที่จำเป็นในการบรรลุข้อกำหนดของระบบบริหาร OH&S, และดำเนินการปฏิบัติที่กำหนดในข้อ 6

8.1.2  

องค์กรต้อง จัดทำ นำไปปฏิบัติ และ การธำรงรักษากระบวนการ สำหรับการกำจัดอันตรายและลดความเสี่ยง OH&S

8.1.3

องค์กรต้องจัดทำ กระบวนการสำหรับการนำไปปฏิบัติ และการควบคุมการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าชั่วคราวหรือถาวร ที่กระทบต่อสมรรถนะด้าน OH&S

8.1.4.1

องค์กรต้องจัดทำ นำไปปฏิบัติ และธำรงรักษากระบวนการ เพื่อควบคุม การจัดซื้อจัดจ้าง ผลิตภัณฑ์และบริการ

8.1.4.2

องค์กรต้องประสานงานกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง กับผู้รับเหมา

8.1.4.3

องค์กรต้องทำให้มั่นใจว่า กระบวนการและฟังชั่นงานจากแหล่งภายนอกได้รับการควบคุม.

8.2

องค์กรต้องจัดทำ นำไปปฏิบัติ และ ธำรงรักษา กระบวนการที่จำเป็น เพื่อเตรียมการและตอบสนอง สำหรับ สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีนัยยะ

9.1.1  

องค์กรต้อง จัดทำ นำไปปฏิบัติและธำรงรักษา กระบวนการในการเฝ้าระวังติดตาม การวัดผล การวิเคราะห์ และการประเมินสมรรถนะ

9.1.2

องค์กรต้องจัดทำ, นำไปปฏิบัติ และธำรงรักษา กระบวนการที่จำเป็นเพื่อประเมินการบรรลุผลตามข้อกฏหมายและข้อกำหนดอื่นๆ

10.2

องค์กรต้องจัดทำ นำไปปฏิบัติ และธำรงรักษา กระบวนการ ,รวมถึง การรายงาน การสอบสวน และดำเนินการ, เพื่อพิจารณาและจัดการกับอุบัติการณ์และความไม่สอดคล้อง

หมายเหตุ

รวมกระบวนการที่จำเป็น คือกระบวนการที่ต้องมีเพื่อการจัดการความเสี่ยงตาม 6.1

รวมกระบวนการที่จำเป็น คือกระบวนการที่ต้องมีเพื่อ บรรลุข้อกำหนดของระบบบริหาร OH&S ตาม 8.1.1

 

แค่ไหนถึง เรียกกระบวนการ

กระบวนการต่างจากระเบียบปฏิบัติ (documented procedure, SOP, rule, WI ) ความสำคัญจึงไม่ใช่เอกสาร แต่เป็นเรื่องของจัดการกิจกรรม ต่างๆในองค์กรอย่างเป็นระบบ  

กระบวนการ(process) ต่างจากขั้นตอน(procedure) จากนิยามข้างล่าง จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่าง จากนิยามอย่างชัดเจน

  • นิยาม procedure : แนวทางเฉพาะในการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการ
  • นิยาม process : กลุ่มกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อกันและกันหรือที่มีผลกระทบต่อกันซึ่งแปลงปัจจัยนำเข้าให้เป็นผลลัพธ์

 

จากนิยาม จะเห็นได้ว่า 

กระบวนการ คือ กว้างกว่าเอกสาร และ เป็นเรื่องการให้สนใจต่อ ผลลัพธ์ที่ต้องการ

เน้นที่ผลที่ต้องการที่เกิด เป็นผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นโดยองค์กร

และเป็นหน้าที่องค์กรที่ต้องกำหนด

ด้วยพื้นฐานของการจัดการเชิงกระบวนการ จึงจำต้องมีการกำหนด เป้าประสงค์ ผู้รับผิดชอบ เกณฑ์ วิธีการ ทรัพยากร โดยคำนึงถึงการเชื่อมโยงกับกระบวนการต่างๆที่ต่อเนื่อง ซึ่งไม่เกียวข้องกับการวาดรูปเป็น flowchart หรือ ไม่วาดรูป เป็น flowchart หรือไม่เป็น flowchart เป็นเต่าหรือไม่เป็นเต่า แต่อย่างไร

เมื่อเป็นกระบวนการ จึงควรต้องมี

  • กำหนดปัจจัยนำเข้าที่ต้องการและผลที่คาดหวังจากกระบวนการนี้
  • กำหนดกิจกรรมย่อยของกระบวนการนี้ รวมถึง กำหนด เกณฑ์ และวิธีการ ( รวมถึงการติดตาม การวัด และตัวบ่งชี้สมรรถนะที่เกี่ยวข้อง) ที่จำเป็นเพื่อให้มั่นใจประสิทธิผลของการดำเนินการ, และควบคุมกระบวนการนี้
  • มีการกำหนดความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ สำหรับกระบวนการ
  • มีการประเมินระบวนการ และ นำการเปลี่ยนแปลงไปปฏิบัติ เพื่อทำให้มั่นใจว่ากระบวนการเหล่านี้ส่งผลลัพธ์ตามที่ตั้งใจ รวมถึง การปรับปรุงกระบวนการ

TIP

NA

นิยาม

3.10

ระบบบริหาร

ชุดของส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกันและกันหรือมีผลกระทบต่อกันขององค์กร (3.1) เพื่อกำหนดนโยบาย (3.14) และวัตถุประสงค์ (3.15) และ กระบวนการ (3.25) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้

หมายเหตุ 1 ข้อมูล:ระบบบริหารสามารถกล่าวถึง discipline เดี่ยว หรือ หลาย disciplines ได้

หมายเหตุ 2 ข้อมูล:ส่วนประกอบของระบบต้องรวมถึงโครงสร้างองค์กร บทบาทและความรับผิดชอบ การวางแผนและการดำเนินการขององค์กร การประเมินและการปรับปรุงสมรรถนะการทำงาน

หมายเหตุ 3 ข้อมูล ขอบเขตของระบบบริหารอาจรวมถึงองค์กรทั้งหมด หน้าที่เฉพาะที่กำหนดขององค์กร   ฝ่ายแผนกเฉพาะที่กำหนดขององค์กร   หรือหน้าที่หนึ่งหรือมากกว่านั้นทั่วทั้งกลุ่มองค์กร

หมายเหตุ 4 : ได้มาจากคำศัพท์และคำจำกัดพื้นฐานสำหรับระบบการบริหารจัดการ ISO annex SL รวมถึง ISO/IEC Directives ส่วนที่ 1 ในหมายเหตุที่ 2 ได้มีการดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อองค์ประกอบของระบบบริหาร

3.11

ระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ระบบการบริหาร OH&S

ระบบบริหาร(3.10) หรือ ส่วนหนึ่งของระบบบริหารที่ใช้เพื่อบรรลุนโยบายด้าน OH&S(3.15).

หมายเหตุ 1 ข้อมูล-ผลลัพธ์ที่ตั้งใจ (intended outcomes) ของระบบบริหาร OH&S คือการป้องกันการบาดเจ็บและ/หรือ ภาวะทุกขภาพ(3.18) แก่ผู้ทำงาน(worker) (3.3) รวมถึงให้สถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและสถานที่ทํางานน่าอยู่น่าทํางาน (Healthy Work place) (3.6).

หมายเหตุ 2 ข้อมูล-คำว่า “อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” (OH&S) และ “ความปลอดภัยและสุขภาพทางอาชีพ” (OSH) มีความหมายเดียวกัน

3.15

นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

นโยบาย OH&S

นโยบาย (3.14) ที่ปกป้องการได้รับบาดเจ็บจากการทำงานและภาวะทุกขภาพ (ill health)(3.18) ให้ผู้ทำงาน(worker) (3.3) และให้สถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและน่าอยู่น่าทํางาน (Healthy Workplace)(3.6)

3.25

กระบวนการ process

กลุ่มกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อกันและกันหรือที่มีผลกระทบต่อกันซึ่งแปลงปัจจัยนำเข้าให้เป็นผลลัพธ์

หมายเหตุ 1 : ได้มาจากคำศัพท์และคำจำกัดพื้นฐานสำหรับระบบการบริหารจัดการ ISO annex SL รวมถึง ISO/IEC Directives ส่วนที่ 1

3.26

ขั้นตอน procedure

แนวทางเฉพาะในการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการ (3.25)

หมายเหตุ 1 ข้อมูล: ขั้นตอนอาจเป็นเอกสารหรือไม่ก็ได้

[แหล่ง: ISO 9000:2015, 3.4.5, ปรับปรุง — Note 1 to entry has been modified.]

-END-