iso45001 oppo

6.1.2.3 การประเมินโอกาสด้าน OH&S และ อื่น ๆ

องค์กรต้องจัดทำ, นำไปปฏิบัติและธำรงรักษากระบวนการ ในการประเมิน:

a)โอกาสในการยกระดับสมรรถนะด้านOH&S, โดยไตร่ตรองถึง (take into account) การวางแผนการปรับเปลี่ยนขององค์กร,นโยบาย,กระบวนการ,หรือกิจกรรม และ:

1) โอกาสในการเปลี่ยนแปลงงาน, องค์ประกอบงาน และ สภาพแวดล้อมในการทำงานต่อผู้ทำงาน(worker)

2)   โอกาสในการขจัดอันตราย และลดความเสี่ยงOH&S

3)   การวางแผนปรับเปลี่ยนต่อองค์กร,นโยบาย,กระบวนการ หรือ กิจกรรม

b) โอกาสในการปรับปรุงระบบบริหารOH&S อื่นๆ.

หมายเหตุ ความเสี่ยงและโอกาสด้านOH&S สามารถส่งผลต่อความเสี่ยงและโอกาสขององค์กร

 

ข้อสังเกต

มาตรฐานมิได้ให้ท่านทำเกณฑ์การประเมินโอกาสด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและโอกาสอื่น ๆ แต่อย่างใด แค่เพียงให้องค์กรทำการตัดสินใจ ! (ประเมิน (assess) แปลว่า Evaluate ตัดสินใจ or estimate ประมาณการ the nature, ability, or quality of……………)

โอกาสที่ต้องการให้ประเมินมีเพียง 2 เรื่อง

  1. โอกาสในการยกระดับสมรรถนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OH&S performance หมายถึง มีอะไรที่จะทำให้ ยกระดับ ประสิทธิผลของมาตรการป้องกัน มาตรการควบคุม ที่ใช้ในการป้องกันการบาดเจ็บและภาวะทุขภาพแก่ผู้ทำงาน(worker) และ การให้สถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและน่าอยู่น่าทำงาน ดูนิยาม 3.28 ดีขึ้นกว่านี้ได้หรือไม่
  2. โอกาสในการปรับปรุงระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หมายถึง จะเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยน ปรับปรุง กระบวนการ วิธีการ และองค์ประกอบอื่นของระบบ OH&S MS ให้ดีขึ้นกว่านี้ได้หรือไม่

อะไรคือ โอกาสด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและโอกาสอื่นๆ

ตามนิยาม โอกาสด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OH&S opportunity) คือ สถานการณ์หรือชุดของสถานการณ์ที่สามารถนำไปสู่การปรับปรุงของสมรรถนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ดังนั้น สิ่งที่ท่านต้องระบุ คือ สถานการณ์หรือชุดของสถานการณ์ ที่น่าสนใจเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิผลในการป้องกันการได้รับบาดเจ็บและภาวะทุขภาพ แก่ผู้ทำงาน(worker) และการให้สถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและน่าอยู่น่าทำงาน ( มีได้ ล้านแปด )

ตัวอย่างสถานการณ์หรือชุดของสถานการณ์ ที่น่าสนใจเพื่อนำไปสู่การปรับปรุง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 ท่านจะรู้ โอกาสด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยต่อเมื่อ ท่านได้มีการระบุอันตราย

โอกาสด้าน OH&S คือวิธีที่ท่านใช้จัดการกับ โอกาสการเกิดและความรุนแรง ของอันตรายที่ทราบ ซึ่งหมายถึง หากมีการฉกฉวยโอกาสนี้ อาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการ มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ จึงมักมีการทำเป็นโครงการ มีการตั้งเป็นวัตถุประสงค์ เป็นต้น

การประเมินโอกาสนี้ จะอยู่ใน กระบวนการ สำหรับการกำจัดอันตรายและลดความเสี่ยง OH&S โดยใช้ลำดับชั้นในการควบคุม ว่าประเมินแล้วมีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่องค์กรจะฉกฉวยโอกาสในการปรับปรุงเหล่านั้น ตามข้อกำหนดที่ 8.1.2

  • a) กำจัดอันตราย
  • b) ทดแทนด้วยวัสดุ กระบวนการ การปฏิบัติงานหรือเครื่องมือที่มีอันตรายน้อยกว่า
  • c) ใช้การควบคุมทางวิศวกรรม และ/หรือ การจัดงานใหม่
  • d) ใช้การควบคุมเชิงการจัดการ , รวมถึงการอบรม
  • e) ใช้เครื่องมือป้องกันส่วนบุคคลทีเพียงพอ

 

การเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่

การลดการเคลื่อนที่

การใช้เทคโนโลยีในการผลิตใหม่

การปรับวิธีการยกขน

การเปลี่ยนวิธีการทำงาน

การเปลี่ยนวัตถุดิบ

การออกแบบการไหลของงานใหม่

การใช้ระบบอัตโนมัติแทนในบางงาน

การใช้ เครื่องมือช่วยในการทำงาน

การปรับเปลี่ยนเวลาในการทำงาน

การปรับวิธีในการผลิต

การเปลี่ยนตัวทำละลายจาก …… เป็น ……

การลดงานซ้ำซาก

การย้ายเครื่องจักรใหม่

 

ตัวอย่างสถานการณ์หรือชุดของสถานการณ์ ที่น่าสนใจเพื่อนำไปสู่การปรับปรุง โอกาสอื่นๆ

การปรับปรุงโอกาสอื่นๆ เป็น โอกาสที่นอกเหนือจาก OH&S opportunity อะไรก็ได้ ที่อยากฉกฉวยโอกาสเพื่อการปรับปรุงระบบการจัดการ เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดผู้มีส่วนได้เสีย มากขึ้น สอดคล้องกับการแข่งขัน ได้ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจมากขึ้น etc 

การพัฒนาวัฒนธรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เช่น ขยายขีดความสามารถ capacity ขององค์กรประกอบที่เกี่ยวข้องกับระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้มากกว่าข้อกำหนดISO หรือการส่งเสริมให้พนักงานรายงานอุบัติการณ์อย่างทันท่วงที

-การปรับปรุงให้เห็นการแสดงการสนับสนุนจากส่วนบริหารอย่างชัดเจนต่อระบบการจัดการ OH&S

-ปรับปรุงกระบวนการสอบสวนอุบัติการณ์

พิจารณาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตั้งแต่เริ่มการออกแบบโรงงาน เครื่องจักร กระบวนการ

ปรับปรุงกระบวนการมีส่วนร่วมหรือให้คำปรึกษาของผู้ทำงาน

การทำการเปรียบเทียบสมรรถนะกับองค์กรอื่นหรือองค์กรตัวเองในอดีต

 

 

กำหนด บ่งชี้ สถานการณ์หรือชุดของสถานการณ์ ที่น่าสนใจเพื่อนำไปสู่การปรับปรุง กันอย่างไร 

  • ท่านอาจถกเถียง อภิปราย มาตรการป้องกัน มาตรการควบคุม และโอกาสในการทำให้ดีขึ้น เมื่อมีทำการการศึกษาอันตราย ประเมินความเสี่ยง
  • ท่านอาจถกเถียง อภิปราย มาตรการป้องกัน มาตรการควบคุม และโอกาสในการทำให้ดีขึ้น เมื่อมีทำ tool box talk
  • ท่านอาจถกเถียง อภิปราย มาตรการป้องกัน มาตรการควบคุม และโอกาสในการทำให้ดีขึ้น เมื่อมีทำการตรวจตราประจำเดือน
  • ท่านอาจถกเถียง อภิปราย มาตรการป้องกัน มาตรการควบคุม และโอกาสในการทำให้ดีขึ้น เมื่อมีทำการประชุมประจำเดือนของฝ่ายบริหาร
  • ท่านอาจถกเถียง อภิปราย มาตรการป้องกัน มาตรการควบคุม และโอกาสในการทำให้ดีขึ้น เมื่อมีทำการประชุมหัวหน้างานประจำสัปดาห์
  • ท่านอาจถกเถียง อภิปราย มาตรการป้องกัน มาตรการควบคุม และโอกาสในการทำให้ดีขึ้น เมื่อมีทำการเดินตรวจพื้นที่โดยผู้บริหาร
  • ท่านอาจได้ idea ดีๆระหว่าง การสอบสวนอุบัติการณ์
  • ท่านอาจได้ idea ดีๆ ระหว่าง อ่านข้อเสนอแนะที่ส่งมาจากพนักงาน
  • ท่านอาจได้ idea ดีๆ ระหว่าง นั่งกินกาแฟ
  • ท่านอาจได้ idea ดีๆ หลังจากไป ดูงาน หรือ เยี่ยมชมผู้ส่งมอบมา

การชี้บ่ง สถานการณ์หรือชุดของสถานการณ์ ที่น่าสนใจเพื่อนำไปสู่การปรับปรุง นั้นสามารถกระทำได้ทั่วไป กระทำได้ง่ายถ้ามีใจพอ และ สามารถชี้บ่งได้ที่เอกสารหลากหลาย

ที่สำคัญคือการชงเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ เป็นสำคัญ

ดังนั้น กระบวนการที่ท่านจัดทำ ต้องระบุ ขั้นตอน กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ในการะบุโอกาส และ การหยิบยกเข้าสู่ฝ่ายบริหารเพื่อตัดสินใจ

  

Trick

  • การประเมินทีดีที่สุดว่าจะฉกฉวยโอกาสใดมาทำ คือ ใช้ผลสรุปการประชุมในแต่ละลำดับชั้นขององค์กร รองลงมาอาจจ้างให้ที่ปรึกษามืออาชีพ อาจารย์ ด้านวิศวกรรม อาขีวอนามัย มาช่วยศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงสถานประกอบการ และให้นำเสนอโครงการพร้อมค่าใช่จ่าย โดยส่วนตัว ผมหวั่นว่าความเห็นสุดท้ายจากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทั่วไป อาจมิพอเพียง
  • หากผู้ตรวจประเมินภายนอกระบุหรือเล็งเห็นโอกาสในการยกสมรรถนะหรือปรับปรุงระบบได้ ในขณะที่ท่านไม่เห็น อาจหมายถึงกระบวนการบ่งชี้โอกาสในการปรับปรุงของท่านไม่ค่อยจะมีประสิทธิผล
  • หากท่านกำหนด ลำดับชั้นในการควบคุม ตามข้อกำหนดที่ 8.1.2 ไม่เหมาะสม จากทะเบียนความเสี่ยง หากผู้ตรวจประเมินภายนอก พบว่าองค์ท่านมี capacity ในการใช้การควบคุมที่ดีกว่านั้นได้ ผสานกับริบทองค์กรและข้อกำหนดผู้มีส่วนได้เสีย ท่านอาจได้พูดคุยเหตุผลในการไม่ฉกฉวยในการใช้ตัวควบคุมที่ดีกว่ากับผู้ตรวจประเมินภายนอกคนนั้น !! (หากทำบุญมาเยอะ ท่านจะได้พบเจอกับผู้ตรวจประเมินที่ดี ที่เล็งเห็นอันตรายและมีมาตรการควบคุมที่เหมาะสมทางธุรกิจ ในจังหวะที่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจมาให้ ไม่อย่างนั้น ได้เถียงกับผู้ตรวจเด็กแต่อีโก้สูง กรรมแน่ๆ ดังนั้นต้องเตรียมตัวนำเสนอ และ ยืนยัน)
  • ให้ใช้การประชุมเป็นเครื่องมือหลัก ในการระบุโอกาสเท่าที่เป็นไปได้ ตามมาด้วยกิจกรรมข้อเสนอแนะจากพนักงาน
  • หากท่านมีความต้องการมีเกณฑ์ในการประเมินโอกาส เป็นการส่วนตัว (กล่าวได้ว่าอยากทำ พอใจทำ แม้ว่ามาตรฐานไม่ได้ให้ท่านต้องทำเกณฑ์) ให้ใช้เกณฑ์ในการฉกฉวยโอกาส ดังต่อไปนี้

ความน่าทำ = ทำง่าย +ทำเร็ว+ใช้เงินน้อย +ได้ผลเยอะ + เจ้านายเห็นด้วย

หมายเหตุ จะให้เต็ม 5 หรือ 100 ในแต่ละ factor ก็ได้ หรือชอบคูณก็ได้ เพราะใส่สูตรคำนวณ เพื่อเอาคะแนนมาเพื่อจับเรียง ก็เท่านั้น  โดยส่วนตัว ใช้เกณฑ์ความเห็นจากที่ประชุมจะดีที่สุดจากส่วนผู้ทำงานและผู้บริหาร

นิยาม

3.3

ผู้ทำงาน(worker)

บุคคลที่ทำงานหรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานภายใต้การควบคุมขององค์กร (3.1)

หมายเหตุ 1 ข้อมูล - บุคคลที่ทำงานหรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานภายใต้การจัดการที่หลากหลาย ได้รับค่าจ้างหรือไม่ได้รับ อาทิเช่น ประจำหรือชั่วคราว เป็นช่วงหรือตามฤดูกาล ชั่วคราวหรือพาร์ทไทม์

หมายเหตุ 2 ข้อมูล: ผู้ทำงาน(worker)รวมถึงผู้บริหารระดับสูง (3.12) บุคคลที่ทำด้านบริหารและไม่ได้ทำด้านบริหาร

หมายเหตุ 3 ข้อมูล – งานหรือกิจกรรมเกี่ยวกับงานที่ดำเนินการภายใต้การควบคุมขององค์กร อาจดำเนินการโดยผู้ทำงาน(worker) ที่จ้างโดย องค์กร , ผู้ทำงานภายนอกจากผู้ให้บริการภายนอก (external providers) ผู้รับเหมา(contractor) รายบุคคล(individual) และผู้ทำงานของเอเยนซี่ และ โดยบุคคลอื่นๆตามขอบเขตขององค์กรที่มีการควบคุมร่วมกับงานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงาน ตามบริบทองค์กร

3.6

สถานที่ทำงาน

สถานที่ภายใต้การควบคุมขององค์กร (3.1) ที่บุคคลต้องเป็นหรือต้องไปเพื่อการทำงาน

หมายเหตุ 1 ข้อมูล- ความรับผิดชอบขององค์กรภายใต้ระบบบริหาร OH&S(3.11) สำหรับสถานที่ทำงานต้องขึ้นอยู่กับระดับความสามารถในการควบคุมสถานที่ทำงาน

3.22

โอกาสด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

OH&S opportunity

สถานการณ์หรือชุดของสถานการณ์ที่สามารถนำไปสู่การปรับปรุงของสมรรถนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (3.28)

3.27

สมรรถนะการทำงาน

ผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้

หมายเหตุ 1 ข้อมูล:          สมรรถนะการทำงานสามารถเกี่ยวกับผลสืบค้นเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ ผลลัพธ์สามารถตัดสินและประเมินได้ด้วยวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

หมายเหตุ 2 ข้อมูล:          สมรรถนะการทำงานสามารถเกี่ยวกับการบริหารกิจกรรมต่าง ๆ กระบวนการต่าง ๆ (3.25) ผลิตภัณฑ์ (รวมถึงบริการ) ระบบหรือองค์กร (3.1).

3.28

สมรรถนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

สมรรถนะOH&S

สมรรถนะ (3.27) เกี่ยวกับประสิทธิผล (3.13) ในการป้องกันการได้รับบาดเจ็บและภาวะทุขภาพ(3.18) แก่ผู้ทำงาน(worker) (3.3) และ การให้สถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและน่าอยู่น่าทำงาน (3.6)

-END-