วัฒนธรรมความปลอดภัยอาหารเป็นเรื่องของทุกคนในองค์กร และเป็นสิ่งสำคัญสุดในการทำให้อาหารที่ผลิตมีความปลอดภัยอย่างแท้จริง 

การพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อสร้างวัฒนธรรมอาหารปลอดภัย จึงมีความสำคัญมากกว่าการกระทำเพียงให้สอดคล้องตามกฏหมาย หรือ ตามข้อกำหนด BRC ที่บังคับในแต่ละข้อ

มาตรฐาน BRC issue 8 ได้มีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้มีการพัฒนาและปรับปรุงวัฒนธรรมด้านคุณภาพและความความปลอดภัยของอาหารอย่างต่อเนื่อง. มาตรฐานใช้คำว่าให้มีการพัฒนาและปรับปรุง แปลว่าให้เป็นหน้าที่ของสถานประกอบการในการกำหนดสิ่งที่ต้องมุ่งเน้น สิ่งที่ต้องทำให้มี หรือ ทำให้ดีขึ้น เพื่อก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ดี

ทุกคนที่ใช้มาตรฐาน BRC นี้ไม่ว่าสถานประกอบการ ที่ปรึกษาและผู้ตรวจประเมิน จำต้องเข้าใจว่าวัฒนธรรมนั้นใช้เวลาในการสร้างนาน............. จึงต้องให้เวลาในการปรับปรุงวัฒนธรรมให้ดีขึ้น

ประเด็นที่สำคัญ ท่านต้องเข้าใจว่าสิ่งที่ข้อกำหนดที่ต้องการ คือให้  ต้องการให้สถานประกอบการ สำรวจ ศึกษา พิจารณาจุดอ่อน และ หาทางปรับปรุงวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหารให้ดีขึ้น อย่างเป็นระบบ

 

อะไรคือ วัฒนธรรมความปลอดภัยอาหาร

นิยาม
“product of individual and group values, attitudes, competencies and patterns of behavior that determine the commitment to, and the style and proficiency of, an organization’s approach to Food safety”

"ผลิตผลของบุคคลและกลุ่ม, ค่านิยมร่วม, ทัศนคติ, ความสามารถ และรูปแบบพฤติกรรมที่ ได้กำหนดความมุ่งมั่น และสไตล์ และความเชี่ยวชาญ, แนวทางที่องค์กรใช้ เพื่อความปลอดภัยอาหาร "


จากนิยาม จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมทางความปลอดภัยอาหารไม่ใช่เอกสาร ไม่ใช่บันทึก ไม่ใช่ลมปากที่พูด หรือเป็นถ้อยคำที่เขียน แต่เป็นสิ่งที่ได้กระทำ มีสิ่งที่นิยมร่วมกัน , รวมทั้ง ทัศนคติ, ความสามารถ และรูปแบบพฤติกรรม” ที่องค์กรมี องค์กรเป็น 


อะไรที่ ก่อให้เกิดวัฒนธรรม


การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร กระทำได้หลากหลายส่วน  ไม่ว่าผ่านทาง นโยบาย(1.1.1) วัตถุประสงค์ที่จัดทำ (1.1.3)และการทบทวนฝ่ายบริหาร(1.1.4) การประชุมด้านความปลอดภัยอาหาร (1.1.5) ทรัพยากร(1.1.7) ความตระหนัก (1.1.5, 1.2.2, ) กิจกรรมการแก้ไขและการป้องกัน รวมถึง อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ เป็นต้น


ข้อกำหนด BRC issue 8 กำหนดว่าไว้อย่างไร

 1.1.2 

The site’s senior management shall define and maintain a clear plan for the development and continuing improvement of a food safety and quality culture. This shall include:
• defined activities involving all sections of the site that have an impact on product safety
• an action plan indicating how the activities will be undertaken and measured, and the intended timescales
• a review of the effectiveness of completed activities.

ผู้บริหารอาวุโสขององค์กร ต้องกำหนดและธำรงรักษา แผนที่ชัดเจนสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องวัฒนธรรมด้านคุณภาพและความความปลอดภัยของอาหาร. ซึ่งต้องประกอบไปด้วย
• กำหนดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทุกส่วนงานในสถานประกอบการที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยผลิตภัณฑ์
• แผนการที่แสดงได้ว่ากิจกรรมต่างๆจะมีการดำเนินการและการวัด, รวมถึง กรอบเวลาตามเจตนา
• ทบทวนประสิทธิผลของกิจกรรมที่สำเร็จ

 

ข้อคิดเห็น

มาตรฐานไม่ได้กำหนดให้ผู้ตรวจประเมินทำการประเมินวัฒนธรรมองค์กรแต่อย่างไร แต่ต้องการให้ผู้ตรวจประเมินทำการประเมินวิธีการที่องค์กรนำข้อกำหนดนี้ไปปฏิบัติใช้ ซึ่งผู้ตรวจประเมินสามารถประเมินประสิทธิผลของแผนการพัฒนาและปรับปรุงวัฒนธรรมด้านคุณภาพและความความปลอดภัยของอาหาร ในรอบการตรวจถัดๆไป

มีอะไรบ้างที่ต้องทำ แผนการพัฒนาและปรับปรุงวัฒนธรรมด้านคุณภาพและความความปลอดภัยของอาหาร

1.ผู้บริหารอาวุโสขององค์กร ต้องกำหนดและธำรงรักษา แผนที่ชัดเจนสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องวัฒนธรรมด้านคุณภาพและความความปลอดภัยของอาหาร.

  อะไรบ้างที่ต้องทำ

  • ต้องจัดทำแผน การพัฒนาและปรับปรุงวัฒนธรรม โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารอาวุโส
  • แผนต้องสะท้อนต่อลำดับความสำคัญ ตามความจำเป็นเร่งด่วน ที่สะท้อนกับจุดแข็ง จุดอ่อน ขององค์กร ที่เป็นอยู่ และ การพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อ ส่งผลต่อวัฒนธรรมที่ดี หรือทำให้ดีได้กว่าเดิม
  • กระบวนการในการจัดทำแผนต้องได้รับการปรึกษาหารือร่วมและอนุมัติจากผู้บริหารอาวุโส

2.แผนการพัฒนาและปรับปรุงวัฒนธรรมด้านคุณภาพและความความปลอดภัยของอาหาร ต้องประกอบด้วย ”กำหนดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทุกส่วนงานในสถานประกอบการที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ “

   อะไรบ้างที่ต้องทำ 

กิจกรรมต้องมีการกระทำให้ครอบคลุมทั่วสถานประกอบการเท่าที่ทำได้ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยอาหาร ไม่ว่าจะเป็น พนักงานในสายการผลิต บรรจุ ส่วนงานคุณภาพ วิศวกร พนักงานทั่วไป สโตร์ จัดส่ง คนขับรถ เป็นต้น

ซึ่งส่วนกิจกรรมที่ต้องพัฒนาหรือต้องปรับปรุง สำหรับหน่วยงานต่างๆนี้ อาจเกี่ยวข้องกับ

  • การปรับปรุง หรือ การกำหนดเพิ่ม วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์พันธกิจ ด้านความปลอดภัยอาหารในองค์กร
  • การปรับปรุง หรือ การกำหนดเพิ่ม การให้อำนาจพนักงาน ในการแจ้งจุดอ่อนของการปรับปรุง การให้รางวัล การทำงานเป็นทีม
  • การปรับปรุง หรือ การกำหนดเพิ่ม การอบรม หรือ การสื่อสารต่างๆในด้านความปลอดภัยอาหาร
  • การปรับปรุง หรือ การกำหนดเพิ่ม มาตรการควบคุม ระบบการจัดการ สถานประกอบการ
  • การปรับปรุง หรือ การกำหนดเพิ่ม ความตระหนักรู้ในเรื่องความเสี่ยง
  • การปรับปรุง หรือ การกำหนดเพิ่ม องค์ความรู้ที่ได้จากความผิดพลาดในองค์กร การค้นคว้าการศึกษาปัญหาต่างๆ

3.แผนการพัฒนาและปรับปรุงวัฒนธรรมด้านคุณภาพและความความปลอดภัยของอาหาร ต้องประกอบด้วย “แผนการที่แสดงได้ว่ากิจกรรมต่างๆจะมีการดำเนินการและการวัด, รวมถึง กรอบเวลาตามเจตนา”

อะไรบ้างที่ต้องทำ

หลังจากทราบสิ่งที่ต้องปรับปรุง ให้ทำเอกสารแผนกำหนดการ โดย

  • ให้ระบุกิจกรรมอะไรที่ต้องทำ
  • ระบุทรัพยากรที่ต้องการ
  • กำหนดให้ชัดเจนว่าใครรับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม
  • กำหนดเวลาแล้วเสร็จ
  • กำหนดวิธีการในการประเมิน ติดตาม ความคืบหน้า ไม่ว่าการประชุม การสรุปผลกิจกรรม เป็นต้น

4.แผนการพัฒนาและปรับปรุงวัฒนธรรมด้านคุณภาพและความความปลอดภัยของอาหาร ต้องประกอบด้วย “ทบทวนประสิทธิผลของกิจกรรมที่สำเร็จ”

อะไรบ้างที่ต้องทำ

  • ในแผนการต้องกำหนดว่าองค์กรจะมีการทบทวน ประสิทธิผลและสรุปผลความสำเร็จของแต่ละกิจกรรม เมื่อไหร่ อย่างไร ไม่ว่า สรุปว่าอะไรได้ทำหรืออะไรไม่ได้ทำ อะไรได้ผลและไม่ได้ผล
  • การทบทวนประสิทธิผลนี้ต้องได้รับการมีส่วนร่วมโดยผู้บริหารอาวุโส และได้รับการนำไปปรับปรุงแผนในรอบถัดไป

 ................................................

ตัวอย่าง รายการตรวจสอบ เพื่อระบุจุดอ่อน เพือใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กร

ความเป็นผู้นำ

ประเด็น

   

ผู้บริหารได้มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติสุขอนามัยและความปลอดภัยอาหาร เป็นอย่างดีเพียงใด

   

ผู้บริหารได้ ส่งเสริมให้พนักงานมีพฤติกรรมการทำงานอย่างถูกต้อง/ตามกฎสำหรับความปลอดภัยอาหารเมื่อจัดการที่เกี่ยวข้องกับอาหาร อย่างเต็มที่เพียงใด

   

ผู้บริหารได้มีพฤติกรรมในการเป็นตัวอย่างที่ดี ให้พนักงานเห็นอย่างชัดเจน ในการกระทำตามกฎสุขอนามัยและความปลอดภัยอาหารเพียงใด

   

มีการสื่อสาร การส่งสัญญาณ จากผู้บริหารอย่างจริงจังและเห็นได้ชัด ในเรื่องความปลอดภัยอาหารเพียงใด

   

มีการกำหนดงบประมาณ หรือให้งบประมาณ ในเรื่องความปลอดภัยอาหาร โดยให้ความสำคัญในระดับต้นๆ เป็นอย่างดีเพี่ยงใด

   

การมีส่วนร่วมของพนักงานในการทบทวนและพัฒนา การปฏิบัติสุขอนามัยอาหาร

พนักงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร ในส่วนงานต่างๆ มีส่วนร่วมในการทบทวนปฏิบัติการความปลอดภัยและสุขอนามัยอาหาร และระบุวิธีการในการปรับปรุงแนวปฏิบัติ เป็นอย่างดีเพียงใด

   

ผู้บริหารให้ตัวอย่าง ในการแสดงวิธีที่พนักงานมีส่วนร่วมในการทบทวนปฏิบัติสุขอนามัยอาหาร และตัดสินใจในการปรับปรุง เป็นอย่างดีเพียงใด

   

พนักงานมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี เพื่อช่วยระบุวิธีการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยอาหารเพียงใด

   

มีความถี่ ที่ผู้บริหาร ร้องขอความเห็นของพนักงานในการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยอาหาร เป็นอย่างดีเพียงใด

   

การสื่อสารและความไว้วางใจในอาหารสุขอนามัย และ การรายงานปัญหา

วิธีที่องค์กรใช้ในการสื่อสารอาหารความปลอดภัยและสุขอนามัยให้กับพนักงาน ได้มีการกระทำ ดำเนินการได้เป็นอย่างดีเยี่ยมเพียงใด

   

มีวิธีการที่ดี เพื่อให้พนักงานรายงานปัญหาความปลอดภัยอาหารเพียงใด

   

เมื่อพบปัญหาที่อาจส่งผลต่อความปลอดภัยของอาหาร พนักงานมีความพร้อมที่จะรายงานขึ้นสู่ฝ่ายบริหารเพื่อจัดการเพียงใด

   

ผู้บริหารได้จัดให้มีวิธีปฏิบัติ เมื่อได้รับรายงานความปลอดภัยอาหาร เป็นอย่างดีเพียงใด

   

องค์กรมีวิธีการที่ดี หากมีพนักงานคนใดคนหนึ่งได้รายงานว่า พนักงานคนอื่นล้มเหลวในการปฏิบัติตามกฎเพื่อความปลอดภัยสุขอนามัยอาหารเพียงใด

   

ข้อมูลสารสนเทศได้เอื้ออำนวยต่อการช่วยให้พนักงานมีความเข้าใจวิธีการที่ดีในการดำเนินการผลิตหรือธุรกิจเกี่ยวกับอาหารสุขอนามัยและความปลอดภัยเพียงใด

   
     

ผู้รับผิดชอบในส่วนความปลอดภัยอาหาร (กฏหมาย ความปลอดภัย คุณภาพ ความแท้)

มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในการตัดสินใจในเรื่องวิธีการปรับปรุงความปลอดภัยอาหาร อย่างชัดเจนเพียงใด

   

มีความถี่ในการทบทวนธุรกิจ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อความปลอดภัยอาหาร เป็นอย่างดีเพียงใด

   

มีการปรับปรุงที่ได้กระทำจริงเพื่อความปลอดภัยอาหาร เห็นได้ชัดในช่วงเวลาที่ผ่านมาเพียงใด

   
     

ความสามารถ เรียนรู้ อบรม ความรู้

องค์กรได้พัฒนา ความรู้ ความสามารถ ของพนักงานในเรื่อง ความปลอดภัยอาหารเป็นอย่างดีเพียงใด

   

องค์กร ได้ช่วยให้พนักงานทราบประเด็นเรื่องความปลอดภัยอาหารที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ เป็นอย่างดีเพียงใด

   

องค์กรได้ช่วยให้พนักงานทั่วไปเข้าใจ ว่าพนักงานต้องทำอะไรเพื่อให้อาหารปลอดภัยต่อผู้บริโภค / ลูกค้า อย่างเต็มที่เพียงใด

   

ระดับความมั่นใจขององค์กร ที่ว่าความปลอดภัยในอาหารนั้นขึ้นอยู่กับพนักงานของตนในการกระทำตามข้อกำหนดความปลอดภัยในอาหารขององค์กรเพียงใด

   

ระดับที่องค์กร ที่เข้าใจเองว่า ความปลอดภัยในอาหารเป็นจิตสำนักพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้และปฏิบัติกันเองเพียงใด

   

ระดับที่องค์กร อนุมานเองว่าพนักงานมีความเข้าใจในอันตรายอาหารในธุรกิจและเข้าใจวิธีการทำงานเพื่อปลอดภัยอาหารเป็นอย่างดีเพียงใด

   

สภาพทั่วไปของสถานประกอบการ

สภาพทั่วไปในสถานประกอบการ สนับสนุน ส่งเสริม เผยแพร่ เพื่อก่อให้เกิดพฤติกรรมเพื่ออาหารปลอดภัย (เช่นป้าย อุปกรณ์เครื่องใช้เพียงพอ การแยกพื้นที่ รหัสสี สบู่ และ ผ้าขนหนู )

   

มีการจัดเตรียม และใช้อุปกรณ์ ที่พอเพียง (อุปกรณ์ล้างมือที่เหมาะสม และเก็บในตำแหน่งที่ดี เสื้อคลุม /ผ้ากันเปื้อน /เทอร์โมมิเตอร์ หมวกคลุมผม กำหนดพื้นที่จัดเก็บสำหรับสินค้าเฉพาะเช่นจัดเก็บสารเคมีทำความสะอาด อุปกรณ์ทำความสะอาด )

   

มีการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ดี จากพนักงานที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหาร (การเคลือบเล็บ/เครื่องประดับ/ การใช้พลาสเตอร์ พฤติกรรมการล้างมือ);

   

มีการจัดการพื้นที่/พื้นที่ (มีการไหลที่ดี เช่น ผลิตภัณฑ์/กระบวนการ/ขยะ/คน การ กำหนดพื้นที่เฉพาะ)

   

การปฏิบัติตนหรือพฤติกรรมของหัวหน้างาน เป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับการปฏิบัติให้เกิดความปลอดภัยอาหาร

   
     

 

แหล่งหลักฐานว่าได้มีการจัดการเพื่อสร้างวัฒนธรรมให้กับองค์กร

  • ถ้อยแถลงพันธกิจและคุณค่า mission and values statements
  • กฏและธรรมนูญองค์กร laws and charters
  • การมอบหมายอำนาจหน้าที่ delegation authorities
  • นโยบายและขั้นตอนปฏิบัติ policies and procedures
  • รายละเอียดพรรณาลักษณะงานposition description
  • โปรแกรมอบรมปฐมนิเทศ staff induction programs
  • แม่แบบการทบทวนสมรรถนะ performance review templates
  • รายงานการตรวจประเมิน audit reports
  • รายงานอุบัติการณ์ incident/hazard/reporting, near misses
  • แผนการปรับปรุงคุณภาพ quality improvement plans
  • โปสเตอร์ และ โบชัวร์ posters and brochures
  • กล่องข้อเสนอแนะ feedback from suggestion boxes
  • บันทึกการประชุม minutes of meetings
  • แบบสำรวจพนักงาน staff engagement surveys
  • ผลย้อนกลับจากผู้มีส่วนได้เสีย stakeholder feedback
  •  คำร้องเรียน complaints
  • โปรแกรมการเรียนรู้และพัฒนา learning and development programs
  •  แบบฟอร้มและเครื่องมือ standard templates and tools.

 

 ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่ : Food Safety Culture  |  Food Safety and Quality Culture

 

END