iso45001 4 2web

4.2 เข้าใจความต้องการ และ ความคาดหวังของ ผู้ทำงาน(worker) และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ  

องค์กร ต้องพิจารณา:

a) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ,นอกเหนือจากผู้ทำงาน(worker), ที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหาร OH&S

b) ความต้องการ และความคาดหวังที่เกี่ยวข้อง (อาทิเช่น ข้อกำหนด) ของผู้ทำงาน(worker) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ

c) ความต้องการและความคาดหวังใด เป็นหรืออาจเป็น ข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ

 

ข้อสังเกต

ห้ามทำตามทุกความต้องการและความคาดหวัง แต่เมื่อความต้องการใดหรือความคาดหวังไหนได้รับการคัดเลือกว่าจะทำ ก็ต้องมีกลไก นำมาวางกระบวนการ วางระบบบริหาร OHS 

องค์กรควรให้เวลาทำการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจความต้องการและความหวังของบุคคลที่สนใจที่เกี่ยวข้อง, รวมถึงสรุปว่าเรื่องใดที่เกี่ยวข้องหรือเรื่องใดไม่เกี่ยวกับระบบการจัดการ OH&Sของท่าน และสุดท้ายอะไรควรได้รับการจัดการในระบบการบริหาร OH&S วิธีการทำให้เข้าใจ ให้ทำตามบทความนี้ครับ (4.1)  

รื่องนี้เป็นเรื่องของผู้บริหาร ดังนั้นต้องให้ผู้บริหารเข้าร่วมในการกำหนดพิจารณา เพื่อกำหนดเข็มมุ่งในการวางระบบบริหารที่ชัดเจนแต่ต้น มิสามารถกำหนดกันในระดับพนักงานปฏิบัติการฝ่ายเดียวได้ โดยเฉพาะผู้ที่ดำรงตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

 

ทำไมต้องให้เข้าใจ ด้วย 

ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร เราจะไม่ทุกข์หรือสุขกับสิ่งนั้นมากเกินกว่าขนาดที่แท้จริงของมัน และจัดการได้อย่างเหมาะสม

ข้อกำหนดนี้ขึ้นด้วย หัวข้อว่า "เข้าใจความต้องการ และ ความคาดหวังของ ผู้ทำงาน(worker) และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ"  

ท่านจึงต้อง สนใจกับคำว่าเข้า ใจ  และ แค่ไหนเรียกเข้าใจแล้ว

หลักฐานการสอดคล้องข้อกำหนดข้อนี้ คือ มีกระบวนการทำความเข้าใจ แล้วนำไปวางระบบบริหาร ตามข้อ 6,7,8,9,10  

การทำให้เข้าใจได้ ต้องศึกษา เรียนรู้ ต้องให้เวลา  การใช้การมโน เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้

การทำการศึกษาเรียนรู้  คือ เรียน ให้ รู้ ถึง ความต้องการ และ ความคาดหวัง จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหาร OHS ต้องรวบรวมข้อมูล ต้องถามไถ่ ต้องดูประวัติ ต้องสังเกตุ  ส่วนวิธีการเรียนให้รู้  ให้ดูคำอธิบายในบทความตีความข้อ  4.1 ก่อนหน้า

 

แค่ไหนเรียกเกี่ยวข้องกับระบบระบบบริหาร OH&S

ไม่เกี่ยวก็ไม่ต้องสนใจ ให้สนใจเฉพาะที่เกี่ยว ท่านจำต้องโฟกัส ตามนิยาม ระบบบริหาร OH&S คือ ‘ระบบบริหาร(3.10) หรือ ส่วนหนึ่งของระบบบริหารที่ใช้เพื่อบรรลุนโยบายด้าน OH&S(3.15).’   ดังนั้นกรอบในการกำหนดผู้มีส่วนได้เสียของ ISO45001 จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับถ้อยแถลงในนโยบาย สิ่งที่ต้องการให้บรรลุในนโยบายเป็นอย่างยิ่ง หากผู้ตรวจประเมินมาให้เพิ่มนู่นเพิ่มนี่ตามความคิดเห็นส่วนตัวของท่านผู้ตรวจ ให้เอาบทความนี้ข้อความนี้ให้ดูครับ

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องตามแต่ใจหรือความต้องการของผู้ตรวจประเมิน ผู้ตรวจต้องอธิบาย ต้องหาหลักฐานให้คุณได้ก่อนว่าที่ต้องการให้เพิ่มนี่เพิ่มโน่น เป็นการทำให้บรรรลุนโยบายOHS ข้อไหน (และมีความเป็นไปได้ที่ผู้ตรวจประเมินของท่านอาจไม่เข้าใจข้อกำหนดหรือไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของข้อกำหนด)

ผู้มีส่วนได้เสียของท่านมีใครบ้าง

ผู้มีส่วนได้เสียแต่ละองค์กรต่างกัน จะมากจะน้อยก็แล้วแต่ความมากความน้อยของประเด็น OHSที่องค์กรมี ประเด็น OHS ของแต่ละองค์กรมีไม่เท่ากันและต้องการการจัดการที่เข้มงวดต่างกัน จึงทำให้จำนวนบุคคลหรือองค์กรที่สามารถส่งผลกระทบ ได้รับผลกระทบ หรือเข้าใจว่าได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจหรือกิจกรรมต่าง ๆ ในเรื่อง OHS  ต่างกัน

แต่เดิมระบบการจัดการบริหารและการดำเนินธุรกิจ มักมีขอบเขตครอบคลุมเฉพาะในกระบวนการดำเนินงานของตัวเองกล่าวคือมองเพียงใน ระดับกระบวนการผลิตและส่งมอบสินค้าและบริการของธุรกิจเท่านั้น และมักวางระบบบริหารโดยทำตามเฉพาะข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO

ต่อมามีแนวคิดว่าระบบการบริหารธุรกิจและการดำเนินธุรกิจขององค์กรหนึ่ง ไม่ได้เป็นผลมาจากการบริหารจัดการและการดำเนินงานของตัวธุรกิจเองเท่านั้น แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานของตนเองด้วยว่ามีการบริหารจัดการและการดำเนินงานอย่างไร รวมถึงมีการสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้มีส่วนได้เสียของธุรกิจมองเห็นและคิดว่ามี ความสำคัญหรือไม่อย่างไร   เป็นไปตามจุดยืน ตามแผนการตลาด ตามกรอบกลยุทธ์องค์กรหรือไม่ จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจว่าผู้มีส่วนได้เสียของ ธุรกิจคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร มีความเกี่ยวโยงกับธุรกิจในประเด็นใดบ้าง ทั้งในมิติด้าน เศรษฐกิจ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยและเทศจะเปลี่ยนแปลงไปทิศทางใด สิ่งแวดล้อม รวมถึงมีความสอดคล้องกันระหว่างคุณค่าของผู้มีส่วนได้เสียกับคุณค่าของ ธุรกิจอย่างไร

แต่ ละธุรกิจย่อมมีความแตกต่างกัน ทั้งในประเด็นที่มุ่งเน้นและในระดับความสำคัญของแต่ละประเด็น หรือประเภทของอุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นดำเนินงานอยู่ จึงต้องทำการระบุและบริหารจัดการในรูปแบบที่อาจแตกต่างกันในแต่ละองค์กร

องค์กร จึงต้องทราบความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย ในเชิงผลกระทบและประเด็นที่เกี่ยวโยงระหว่างกันทั้งด้านบวกและลบ เพื่อทำการจัดทำ นำไปใช้และปรับปรุงระบบการจัดการ ธุรกิจ จำต้องมีที่มาของกรอบการดำเนินงานธุรกิจ ซึ่งการทำให้ได้คำตอบเหล่านี้ ธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการที่เรียกว่า การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นกระบวนการเพื่อนำไปสู่การผลผลกระทบ เชิงลบและสร้างผลกระทบเชิงบวกระหว่างธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียอันจะนำไปสู่ ความร่วมมือและการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจกับผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้ถือุหุ้นที่ต้องการการลงทุน ลูกค้าที่ต้องการพอใจในสินค้าที่ซื้อ คู่ค้ายินดีร่วมในการประกอบธุรกิจด้วย พนักงานยินดิปฏิบัติงานกับองค์กร การได้รับการยอมรับจากสังคมและชุมชนให้ธุรกิจเข้ามาประกอบกิจการในพื้นที่ โดยไม่คัดค้าน

ผู้มีส่วนได้เสียนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งกับต่อการดำเนินธุรกิจองค์กร ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจึงเป็นข้อมูลสำคัญ ที่ใช้ในการกำหนดระบบการบริหาร การกำหนดกลยุทธ์ ทิศทาง แผนการดำเนินงาน และ แนวทางในการพัฒนาองค์กร เพื่อให้ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาดังกล่าวมีส่วนร่วม ซึ่งมิใช่เพียงการสร้างผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ยังตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด

การ เชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสีย ช่วยสร้างความได้เปรียบของการแข่งขันให้ธุรกิจ และ การมีความเข้าใจและได้ให้ความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นภูมิ คุ้มกันที่ดีให้แก่องค์กรเมื่อเกิดปัญหา เพราะผู้ที่มีส่วนได้เสียจะมีความไว้เนื้อเชื่อใจว่าธุรกิจจะสามารถจัดการ กับปัญหา หรือสถานการณ์นั้นได้ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย

องค์กร จึงต้องทำการระบุความสำคัญและต้องให้ความสำคัญกับการใช้กลยุทธ์เพื่อตอบสนอง ความต้องการของกลุ่มนั้นและการวิเคราะห์อิทธิพลของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะทำ ให้สามารถระบุขั้นตอนของการสร้างกลยุทธ์เพื่อตอบสนองความต้องการได้ ซึ่งจะเริ่มโดยระบุผู้มีส่วนได้เสียสำคัญ และทำการระบุความสนใจ ความต้องการ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญนั้นต่อต่อ องค์กร การวิเคราะห์ดังกล่าวจะทำให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วน เกี่ยวข้องได้

ความต้องการกับความคาดหวังต่างกันอย่างไร ( needs vs expectations)

ความต้องการและความคาดหวังของแต่ละผู้มีส่วนได้เสียมีสนใจที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจขัดแย้งกับผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ หรือสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว การรู้ความจำเป็นและความคาดหวังและการทำให้สอดคล้อง นี้ทำได้หลากหลายรูปแบบวิธี ไม่ว่าการร่วมมือ ต่อรอง เจรจา การจ้าง หรือการยกเลิก หรือ การทำให้มีกิจกรรม

มาตรฐานให้ระบุ ทั้งความต้องการและความคาดหวังที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงไม่ควรกังวลเพราะไม่ว่าเป็นความต้องการหรือความคาดหวังก็ต้องได้รับการพิจารณาเช่นกัน

ความต้องการต่างจากความคาดหวัง ในมุมของการจัดลำดับความสำคัญเพื่อนำไปวางระบบ  หากเป็นความต้องการ (ข้อกำหนด สั่งมาแล้ว อยู่ในสัญญาแล้ว) อย่างนี้ต้องได้รับการนำไปวางระบบมากกว่า  แต่ประเภท มีก็ดีนะ ทำได้ก็แจ๋วนะ จะชอบมากเลยถ้ามี (ความคาดหวัง)อย่างนี้ ทำได้ก็ทำ หากยังทำไม่ได้ วันหลัง ปีหลัง ค่อยเอาไปทำระบบ   (อย่าลืมว่า ผู้ตรวจประเมินก็คาดหวังจากท่านเหมือนกัน ว่าหากเป็นความต้องการ ท่านควรนำสิ่งนั้นได้รับการนำไปวางระบบโดยไม่บิดพลิ้ว...ฮ่าๆ..)

หาก ประเด็นที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ ก็จะเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ เพื่อป้องกันความเสียหายจากผิดพลาดในการดำเนินธุรกิจการ ซึ่งในการจัดลำดับความสำคัญควรมาจากการตั้งสมมุติฐานขององค์กรเอง หรืออาจมาจาก การสัมภาษณ์ การจัดประชุมกลุ่ม การสานเสวนา การจัดทำแบบสำรวจเพื่อตรวจสอบว่าธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียต่างมีมุมมอง การรับรู้ และความเข้าใจที่เกี่ยวกับประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างไร มีการมองประเด็นเร่งด่วนตรงกันหรือไม่ มีการสอดคล้องหรือขัดแย้งกันอย่างไรบ้างเพื่อให้สามารถบริหารความคาดหวังและ การดำเนินการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม

ตัวอย่าง 

ภายนอก

ตัวอย่าง ความต้องการ/ความคาดหวัง

หน่วยงานดูแลกฎหมายและกฎระเบียบ

  • มีการบ่งชี้ข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อบังคับที่บังคับใช้สำหรักิจกรรมด้าน OH&S ภายใต้การควบคุม / อำนาจบังคับ
  • มีความเข้าใจข้อกำหนดต่าง ๆ การประยุกต์ใช้ภายใน OHS
  • มีการปฏิบัติตามข้อกำหนด การตอบสนองทันทีต่อการสอบถามข้อมูล
  • การรายงานอุบัติการณ์ที่ประยุกต์ใช้โดยทันที

ลูกค้า

  • ปฏิบัติตามระบบ ISO 45001 ที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย
  • คุ้มค่าเงิน
  • รับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรม

ผู้มาเยือน

  • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุฉุกเฉินต่างๆ
  • จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการเยี่ยมชมโดยมี PPE ที่พอเพียงและการควบคุมความปลอดภัยให้ผู้มาเยือน

ประชาชนทั่วไป

  • การปฏิบัติตามกฎหมาย
  • ไม่มีอุบัติการณ์ด้าน OH&S
  • ปฏิบัติตามความมุ่งมั่นที่กำหนดไว้ในนโยบาย
  • รับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรม

บริษัทประกัน

  • รายงานอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น / การเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ต่างๆ โดยทันที
  • ปฏิบัติตามระบบ ISO 45001 ที่สามารถพิสูจน์ได้
  • หลักฐานการบริหารความเสี่ยงที่ไม่ใช่ทางการเงิน (ต.ย. OH&S)
  • อัตราการเกิดอุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่ำ

หน่วยบริการฉุกเฉิน/

แพทย์/พยาบาล

  • แจ้งทันเวลาและมีข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาด้าน OH&S ของสถานที่ปฏิบัติงานพร้อม
  • จำนวน สินค้าคงคลังที่เป็น HAZMAT มีความถูกต้องแม่นยำและเชื่อถือได้
  • การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ
  • มีการฝึกซ้อมเหตุฉุกเฉิน / การอพยพในสถานที่ปฏิบัติงาน / การปฐมพยาบาลเบื้องต้น อย่างเหมาะสม

สื่อมวลชน

  • ให้ข้อมูลที่รวดเร็วและถูกต้องเกี่ยวกับผลกระทบ/อุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ OH&S ให้กับสื่อ
  • การเปิดเผย/ความโปร่งใสต่อทุกคน

ผู้อยู่ในความอุปการะของพนักงาน

  • ความรับผิดชอบต่อชื่อเสียงและความรับผิดชอบต่อสังคม
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของ OH&S
  • สภาพการทำงานที่ปลอดภัยและสถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน
  • ผู้ทำงานไม่ได้รับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ด้านจิตใจ/ร่างกายจากกิจกรรมการทำงานต่าง

ธนาคาร

  • ทำตามเงื่อนไขการชำระคืน
  • การปฏิบัติตามเงื่อนไขการกู้ยืม
  • มีการบริหารความเสี่ยงที่ดี
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย
  • การไม่มีอุบัติการณ์/ค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย/ความรับผิดชอบต่อสาธารณะในด้าน OH&S

ชุมชนท้องถิ่น/ เพื่อนบ้าน

  • การลดอุบัติการณ์ด้าน OH&S
  • เป็นนายจ้างที่ดีที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
  • เป็นนายจ้างที่รับผิดชอบกิจกรรมการทำงานที่มีผลต่อผู้ทำงานและผู้มาเยือน

กลุ่มกดดัน/NGOs

  • การยึดมั่นแนวทางปฏิบัติที่ดีและข้อตกลงตามสัญญา

ผู้รับเหมา/ผู้ส่งมอบ

  • การประกาศที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อกำหนดของ OH&S ในการประกวดราคา/สัญญา
  • วิธีการที่สอดคล้องกับรูปแบบสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ OH&S
  • การยึดมั่นตามข้อตกลงต่างๆ
  • ทำให้ทุกคนมีโอกาสเท่าๆ กัน ตามข้อกำหนด OH&S
  • กำหนดข้อกำหนดด้าน OH&S ในทางปฏิบัติที่สมเหตุสมผล

คู่ค้าทางธุรกิจ

  • การยึดมั่นตามข้อตกลงต่างๆ
  • การบริหารความเสี่ยงด้าน OH&S ที่ดี

ผู้ทำงาน (แรงงาน) / ตัวแทน

  • ข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับผู้ทำงาน – เกี่ยวกับ OH&S
  • การให้คำปรึกษา/การมีส่วนร่วมของพนักงานด้าน OH&S เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านการทำงาน

ภายใน

ตัวอย่าง ความต้องการ/ความคาดหวัง

ผู้ทำงาน โดยครอบคลุมถึงผู้บริหาร

  • ภาพลักษณ์ด้านชื่อเสียงที่ดีเกี่ยวกับ OH&S
  • การมุ่งเน้นที่กว้างกว่าผลกำไรเพียงอย่างเดียว
  • การฝึกอบรมที่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการจากภายนอกสำหรับผู้ทำงานทั้งหมด
  • สภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • ความต่อเนื่องของการจ้างงาน
  • โอกาสในการสนทนา / ปรับปรุง / เปลี่ยนแปลง
  • การจัดให้มีการให้คำปรึกษาและการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผู้ทำงานยังเป็นเจ้าของ OH&S ของตนเองรวมทั้งคนอื่น ๆ ที่สามารถได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติการของผู้ทำงาน
  • ผู้ทำงานที่ร้องขอเกี่ยวกับ OH&S อย่างสมเหตุสมผลและสิ่งที่พวกเขาสามารถ/ไม่สามารถทำได้
  • ผู้ทำงานที่รายงานข้อบกพร่องต่างๆ ในการจัดเตรียม OH&S และเสนอการปรับปรุงอย่างแข็งขัน

ผู้ทำงาน (แรงงาน) ตัวแทน (ภายใน)

  • มีข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับผู้ทำงาน – เกี่ยวกับ OH&S ที่เหมาะสม
  • การได้ร่วมให้คำปรึกษา/การมีส่วนร่วมของพนักงานด้าน OH&S เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านการทำงาน
  • ได้รับการอบรมที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับบทบาทของผู้ทำงานและผู้ทำงานอื่น ๆ ที่พวกเขาเป็นตัวแทน

เจ้าของ ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร บริษัทแม่

  • ผลตอบเทนทางการเงินที่เหมาะสม
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย/การไม่เสียค่าปรับโดยไม่จำเป็น
  • มีชื่อเสียง
  • มีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) การกำกับดูแลกิจการ (CG) ที่ดีขึ้น

TIP

ใส่มากใส่น้อย ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะองค์กรเป็นผู้พิจารณาเองได้ว่า จะทำอะไรก่อน อะไรหลัง ดังนั้น เป็นการใส่เพื่อเลือก เป็นเรื่องของแพ้คัดออก

นิยาม

3.2

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (interested party (preferred term))

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder (admitted term))

บุคคลหรือองค์กร (3.1) ที่สามารถส่งผลกระทบ ได้รับผลกระทบ หรือเข้าใจว่าได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจหรือกิจกรรมต่าง ๆ  

หมายเหตุ 1 : ได้มาจากคำศัพท์และคำจำกัดพื้นฐานสำหรับระบบการบริหารจัดการ ISO annex SL รวมถึง ISO/IEC Directives ส่วนที่ 1

3.11

ระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ระบบการบริหาร OH&S

ระบบบริหาร(3.10) หรือ ส่วนหนึ่งของระบบบริหารที่ใช้เพื่อบรรลุนโยบายด้าน OH&S(3.15).

หมายเหตุ 1 ข้อมูล-ผลลัพธ์ที่ตั้งใจ (intended outcomes) ของระบบบริหาร OH&S คือการป้องกันการบาดเจ็บและ/หรือ ภาวะทุกขภาพ(3.18) แก่ผู้ทำงาน(worker) (3.3) รวมถึงให้สถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและสถานที่ทํางานน่าอยู่น่าทํางาน (Healthy Work place) (3.6).

หมายเหตุ 2 ข้อมูล-คำว่า “อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” (OH&S) และ “ความปลอดภัยและสุขภาพทางอาชีพ” (OSH) มีความหมายเดียวกัน

3.15

นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

นโยบาย OH&S

นโยบาย (3.14) ที่ปกป้องการได้รับบาดเจ็บจากการทำงานและภาวะทุกขภาพ (ill health)(3.18) ให้ผู้ทำงาน(worker) (3.3) และให้สถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและน่าอยู่น่าทํางาน (Healthy Workplace)(3.6)

NA

-END-