iso45001 9 1 

9 การประเมินสมรรถนะ

9. 1 การเฝ้าระวังติดตาม, การวัดผล ,การวิเคราะห์ และการประเมินสมรรถนะ

9.1.1     ทั่วไป

องค์กรต้องพิจารณากำหนด:

a)สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังติดตามและวัดผล รวมถึง:

1)         ขอบเขตของข้อกำหนดทางกฎหมายที่บังคับใช้ และ ข้อกำหนดอื่น ๆ ที่บรรลุ

2)         กิจกรรมและการปฏิบัติงานเกี่ยวกับอันตรายที่ระบุ, ความเสี่ยงและโอกาส

3)         ความคืบหน้าในการบรรลุ วัตถุประสงค์ด้าน OH&Sขององค์กร

4)         ประสิทธิผลของการควบคุมการปฏิบัติและมาตรการควบคุมอื่นๆ

b) วิธีการเฝ้าระวังติดตาม, การวัดผล, การวิเคราะห์ และการประเมินสมรรถนะ , ตามที่ประยุกต์ใช้ ,เพื่อทำให้มั่นใจผลถูกต้องใช้ได้

c) เกณฑ์ที่องค์กรใช้ประเมินสมรรถนะด้าน OH&S    

d) เมื่อใดที่ต้องมีการเฝ้าระวังติดตาม และ วัดผล

e) เมื่อใดที่ผลจากการเฝ้าระวังติดตามและการวัด ต้องได้รับการวิเคราะห์, และประเมิน และ สื่อสาร

องค์กรต้องประเมินสมรรถนะด้าน OH&S ,และพิจารณาประสิทธิผลของระบบบริหาร OH&S

องค์กรต้องทำให้มั่นใจว่าอุปกรณ์การเฝ้าระวังติดตามและการวัดผลได้รับการสอบเทียบ หรือทวนสอบการใช้ได้ ตามการประยุกต์ใช้ ,และการใช้งานและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม

หมายเหตุ   สามารถมีข้อกฎหมายหรือข้อกำหนดอื่น ๆ   (ตัวอย่างเช่น   มาตรฐานระดับชาติหรือสากล) เกี่ยวกับการสอบเทียบหรือการทวนสอบการใช้ได้ ของเครื่องมือเฝ้าระวังติดตามและวัดผล

องค์กรต้องเก็บเอกสารสารสนเทศอย่างเพียงพอ

—         เป็นหลักฐาน ของ ผลการเฝ้าระวังติดตาม การวัด การวิเคราะห์ และ การประเมินสมรรถนะ

—         การบำรุงรักษา การสอบเทียบ หรือ ทวนสอบการใช้ได้ ของ อุปกรณ์การวัด

 

จุดประสงค์ของการวัดผลและการประเมินสมรรถนะ

การวัดผล(สมรรถนะ)เป็นส่วนสำคัญของระบบการจัดการ OH&S

วัตถุประสงค์หลักของการวัดผลคือ:

  • ใช้ในการพิจารณาว่ามีการดำเนินการแผน OH&S หรือไม่ และประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่
  • ตรวจสอบว่ามีการดำเนินการมาตรการควบคุมความเสี่ยงหรือไม่
  • เพื่อเรียนรู้จากความล้มเหลวของระบบการจัดการ OH&S รวมถึง ไม่สอดคล้องกับการควบคุมความเสี่ยง เหตุการณ์ที่เป็นอันตราย และกรณีเกิด การป่วย;
  • เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของแผน และการมาตรการควบคุมความเสี่ยง โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับทุกฝ่าย;
  • ให้ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้เพื่อทบทวนและ ที่จำเป็น ปรับปรุง OH&S management system
  • แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของ OH&S ขององค์กร รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง 
  • ประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย

 

การประเมินสมรรถนะเป็นการตอบคำถามหลักๆเพียงสองข้อ:

ก) ระบบการจัดการ (และกระบวนการ) ทำงานอย่างถูกต้องหรือไม่?

ข) มาตรการควบคุมที่ใช้ในการป้องกันบาดเจ็บและเจ็บป่วยมีอยู่อย่างเหมาะสมหรือไม่?

 

อะไรบ้างที่น่าวัด ติดตามผล

องค์กรไม่จำเป็นต้องเฝ้าระวังติดตามหรือตรวจวัดทุกอย่าง 

องค์กรควรมีกระบวนการในเรื่องนี้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ควรได้รับการประเมินและเหมาะควรกับความเสี่ยง

ซึ่งหมายความว่า ความเสี่ยงจะเป็นตัวบ่งบอกว่า อะไรควรต้องวัด อะไรที่ควรต้องติดตามและที่ความถี่เท่าไหร่ และใช้วิธีใด

ความเสี่ยงจะเป็นตัวบ่งบอกว่า อะไรควรต้องวัด อะไรที่ต้องติดตาม และความถี่ในการติดตาม

มีสิ่งที่สามารถวัดได้มากมายในระบบการบริหาร  สิ่งที่สำคัญที่ควรพิจารณา เช่น ได้มีการกระทำที่สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมายหรือไม่ ข้อกำหนดผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆได้บรรลุหรือไม่  สมรรถนะด้าน OH&Sดีขึ้นหรือแย่ลง วัตถุประสงค์OH&S บรรลุหรือไม่  มาตรการควบคุมที่ใช้ในการป้องกันบาดเจ็บและเจ็บป่วยได้รับการเฝ้าติดตามและมีประสิทธิผลหรือไม่ 
โดยให้ทำการจัดลำดับความสำคัญตามความเสี่ยงของOH&Sที่สำคัญขององค์กร 

 

ตัวอย่างสิ่งที่วัดและติดตามผล

a ตัวอย่างสิ่งที่ต้องเฝ้าติดตามและวัดผลเพื่อบรรลุข้อกำหนดของมาตรฐาน

    1. ความคืบหน้าในการบรรลุคำมั่นสัญญาที่กำหนดในนโยบาย โดยวัดการบรรลุวัตถุประสงค์ และ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
    2. ข้อร้องเรียนทางอาชีวอนามัย ผลการตรวจสุขภาพของคนทำงานและผลการเฝ้าติดตามสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    3. จำนวนอุบัติการณ์เกี่ยวกับงาน การบาดเจ็บ และสุขภาพเจ็บป่วย รวมถึงแนวโน้มข้อร้องเรียน
    4. ประสิทธิผลของการควบคุมการปฏิบัติงานและการฝึกกรณีฉุกเฉิน
    5. ผลของการปฏิบัติการเชิงรุก และเชิงรับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขององค์กร
    6. ประสิทธิผลของกระบวนการในระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
    7. ความรู้ ทักษะที่เพิ่มขึ้น

b   ตัวอย่าง เพื่อประเมินการบรรลุข้อกำหนดทางกฎหมาย

1) การสอดคล้องต่อข้อกำหนดทางกฎหมาย

2) การลดช่องว่างในความสอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย 

C ตัวอย่าง เพื่อประเมินการบรรลุข้อกำหนดอื่น ๆ

1)   ข้อตกลงของคณะกรรมการความปลอดภัยกับนายจ้าง

2)   มาตรฐานทางอาชีวอนามัยในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

3)   นโยบายองค์กร และ กฎเกณฑ์ และกฎระเบียบขององค์กร อื่นๆ

d การเปรียบเทียบ กับ อดีต หรือหน่วยงานอื่นที่คล้ายกัน 

 

ตัวชี้วัดสมรรถนะมีความสัมพันธ์กับประเภทของการเฝ้าระวังติดตาม

การเฝ้าระวังเชิงรุก proactive monitoring; -->  

ตัวบ่งชี้สมรรถนะเชิงรุก leading performance indicator

การเฝ้าระวังเชิงรับ reactive monitoring;    -->

ตัวบ่งชี้สมรรถนะเชิงรับ lagging performance indicator

 

การเฝ้าระวังติดตาม

การเฝ้าระวัง ไม่ว่าเชิงรุกหรือรับ เป็นหนทางในการทำให้ได้มาที่ซึ่งสารสนเทศของสมรรถนะ OH&S proactive monitoring

ตัวบ่งชี้สมรรถนะเชิงรับ lagging performance indicator เป็นการวัดการสอดคล้อง ผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ (เช่น อุบัติเหตุเป็นต้น) จากการที่ ระบบOH&S มีความไม่เพียงพอ

การเฝ้าระวังเชิงรุก proactive monitoring เป็นการตรวจสอบซ้ำๆ ตามรอบเวลาที่วางไว้เพื่อเช็คว่า

  1. ว่าแผน OH&S ได้มีการนำไปปฏิบัติใช้
  2. พิจารณาระดับการสอดคล้องกับ ระบบOH&S
  3. แสดงหลักฐานของอันตรายใดๆ ที่ไม่ได้รับความสนใจขององค์กร ผ่านการเฝ้าระวังเชิงรับ

การเฝ้าระวังเชิงรับ reactive monitoring เป็นโครงสร้างในการตอบสนองต่อระบบการจัดการ OH&S เมื่อล้มเหลวรวมถึง การเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย และกรณีเจ็บป่วย

ระบบการจัดการ OH&S ที่มีประสิทธิผล, การตรวจสอบเชิงรุกจะเป็นการรับรองว่าระบบได้ทำงานตามที่ตั้งใจไว้ ตัวอย่างเช่นการยืนยันว่าผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง และระบบที่ปลอดภัยทำงาน

ในเวลาที่น้อยกว่า การตรวจสอบเชิงรุกให้หลักฐานที่ทันท่วงทีของปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขตัวอย่างเช่นได้มีการทำงานโดยไม่มีการประเมินความเสี่ยง หรือไม่ใช่ทุกอุบัติเหตุทั้งหมดได้ถูกรายงาน ตัวชี้วัดเชิงรุกมักเป็นลางบอกเหตุในอนาคตได้ เช่น จำนวนพนักงานที่ไม่ได้รับการอบรม การhouse keeping ที่ไม่ดี อาจส่งผลต่อการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยในอนาคตได้

การเฝ้าระวังเชิงรับเป็นเรื่องเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองอย่างเป็นระบบต่อสิงที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบ OH&S และการสืบสวนสอบสวน เหตุการณ์ที่เป็นอันตราย และสาเหตุของเจ็บป่วย ปัญหาเหล่านี้อาจถูกนำไปสู่ความสนใจต่อองค์กร เช่น จากการตรวจสอบตามกฎหมายหรือการร้องเรียนจากคนงานหรือสมาชิก ของประชาชนหรือในกรณีที่เกิดเหตุการณ์อันตรายหรือสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ผลกระทบโดยผู้คนที่มีประสบการณ์หรือเป็นพยานใกล้เคียง หรือเป็นอันตราย

สรุป ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสองวิธีการตรวจสอบ คือวิธีในการพบ สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด conformities ตรวจพบโดยองค์กร หากช้านานกว่าจะรู้คือ re-active หากเป็น pro-active จะรู้ผลเร็ว

 

กระบวนการ

วิธี การเฝ้าระวังติดตาม

หลักฐาน

การควบคุมการปฏิบัติการ

การตรวจติดตามภายใน

การตรวจตราประจำเดือน

ผลการตรวจติดตามภายใน

ผลการตรวจตรา

วัตถุประสงค์ OH&S

การทบทวนฝ่ายบริหาร

บันทึกการทบทวน

การสอดคล้องข้อกำหนด กฏหมาย

การทบทวนการสอดคล้อง

รายงานการสอดคล้อง

 

สิ่งที่ต้องคิด เมื่อจะเลือกดัชนีวัดสมรรถนะ

ความต้องการของข้อมูลจะแตกต่างกันในแต่ละระดับและในส่วนต่างๆขององค์กร

ผู้บริหารระดับสูงต้องการ kpi เพื่อพิจารณาว่าระบบ OH&S ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่ ในระดับปฏิบัติการ อาจต้องมีตัวบ่งชี้ประสิทธิผลการทำงานที่หลายระดับเพื่อเฝ้าติดตามว่า ได้มีการควบคุมความเสี่ยงและความมีประสิทธิผลของมาตรการควบคุมต่างๆ

องค์กรขนาดใหญ่ควรทำการรวบรวมข้อมูล OH&S เพื่อสร้างพื้นฐานเลือกสำหรับ kpi ที่เหมาะสม และให้เหมาะสมกับภาคอุตสาหกรรมขององค์กร

การเลือก kpi มีความสำคัญ: น้อยเกินไปอาจส่งผลให้เห็นภาพรวมที่ไม่สมบูรณ์ของระบบ มากเกินไปทำให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลที่ไม่จำเป็นมากไป

มากกว่านี้ข้อมูล KPI อาจถูกทำให้ผิดเพี้ยนโดยตั้งใจ เช่น อาจมีการลังเลจากหน่วยงานที่จะรายงานการ เกิดอุบัติเหตุในพื้นที่รับผิดชอบ หากอัตราการเกิดอุบัติเหตุเป็น KPI ที่ใช้ ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพวกเขา เป็นต้น

ทำอย่างไรให้ได้ข้อมูล

จะได้ข้อมูลก็ต้องเก็บข้อมูล องค์กรควรตัดสินใจว่าการเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบนี้จะทำบ่อยเพียงใด ซึ่งความถึ่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ ต้องเป็นไปตามระดับความเสี่ยงและความไวในการการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม ขององค์กร

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของวิธีการที่สามารถใช้ในการวัดสมรรถนะ OH&S:

  • ทวนสอบเอกสาร เช่น นโยบาย แผนความเสี่ยง ใบอนุญาตให้ทำงาน
  • การตรวจสอบบันทึกเช่น การประเมินความเสี่ยงที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว
  • การตรวจตราความปลอดภัยของสถานที่ทำงานอย่างเป็นระบบโดยการใช้แบบตรวจสอบความปลอดภัย
  • การเดินสำรวจด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • การตรวจตราความปลอดภัยเครื่องจักรและอาคารสถานที่
  • การสุ่มตัวอย่างด้านความปลอดภัย
  • การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน แล้วเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ
  • การสุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง
  • การสำรวจทัศนคติของบุคลากรทุกระดับ
  • การวิเคราะห์ด้านเอกสารและการบันทึกข้อมูล
  • การเปรียบเทียบกับวิธีปฏิบัติที่ดีขององค์กรอื่น

 ตัวอย่าง ดัชนีวัดเชิงรุก (Leading performance indicator)

  • จำนวน อัตราส่วน ขอบเขต นโยบายในการทำงานที่ได้จัดทำ
  • จำนวน อัตราส่วน ขอบเขต นโยบายในการทำงานที่ได้รับการสื่อสาร
  • จำนวน อัตราส่วน ขอบเขต ของผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้าน OH&S ที่ได้มีการมอบหมาย
  • จำนวน อัตราส่วน ขอบเขต ของแผนที่ได้มีการนำไปปฏิบัติ
  • จำนวน อัตราส่วน ขอบเขต การมีส่วนร่วมของผู้ทำงาน
  • จำนวนชั่วโมงที่ผู้บริหารระดับสูงทำการตรวจตรา OH&S inspection tours
  • ความถี่และประสิทธิผลของ การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย
  • ความถี่และประสิทธิผลของการประชุม tool box talk
  • จำนวนข้อเสนอแนะของผู้ปฏิบัติงานสำหรับการปรับปรุง OH &S
  • ระยะเวลาก่อนดำเนินการตามข้อเสนอแนะ
  • จำนวนของบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม OH &S
  • ความเข้าใจของผู้ทำงานในเรื่องความเสี่ยงและมาตรการป้องกันหรือควบคุมความเสี่ยง
  • จำนวนการประเมินความเสี่ยงที่เสร็จสมบูรณ์เทียบเป็นสัดส่วนจากที่จำเป็น
  • จำนวน ขอบเขตของการปฏิบัติตามสอดคล้องของการควบคุมความเสี่ยง
  • จำนวน ของการสอดคล้องต่อข้อกำหนดกฏหมาย
  • ทัศนคติของผู้ทำงานต่อ ความเสี่ยงและมาตรการควบคุม
  • การกระทำได้ตามมาตรฐาน house-keeping
  • ระดับการสัมผัสในสถานที่ทำงาน เสียง ฝุ่น ควัน สารเคมี
  • ระดับการสัมผัสส่วนบุคคล ต่อ เสียง ฝุ่น ควัน สารเคมี

 ตัวอย่าง ดัชนีวัดเชิงรับ (Laging performance indicator) 

  • รายงานการเฝ้าระวังสุขภาพ
  • การขาดงานของพนักงานเนื่องจากการเจ็บป่วย (การที่เกี่ยวข้องหรือ ไม่ใช่การที่เกี่ยวข้อง);
  • ในกรณีที่มีโรคหรือเงื่อนไขทางอาชีพเช่น โรคผิวหนัง, หูหนวก, ความผิดปกติของแขนขาบนที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ความเครียด,มะเร็ง;
  • จำนวนnear-misses;
  • จำนวนการเกิดอุบัติเหตุทีเสียหายต่อทรัพย์สิน
  • รายงานการเกิดเหตุสถานการณ์ที่อันตราย
  • • lost-time accidents,
  • • จำนวนและประเภทการบาดเจ็บ
  • • รายงานการหยุดงานที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ
  • • reportable major injuries / fatal accidents.

   

9.1.2 การประเมินการสอดคล้อง

 

9 การประเมินสมรรถนะ

9. 1 การเฝ้าระวังติดตาม, การวัดผล ,การวิเคราะห์ และการประเมินสมรรถนะ

9.1.2 การประเมินการสอดคล้อง

องค์กรต้องจัดทำ, นำไปปฏิบัติ และธำรงรักษา กระบวนการที่จำเป็นเพื่อประเมินการบรรลุผลตามข้อกฏหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ( ดู 6.1.3)

องค์กรต้อง:

a)         พิจารณาความถี่และวิธีการสำหรับการประเมินการสอดคล้อง

b)         ประเมินการสอดคล้องและดำเนินกิจกรรม หากจำเป็น ( ดู 10.2)

c)         ธำรงรักษาความรู้และความเข้าใจในสถานะการสอดคล้องกับข้อกำหนดกฏหมายและข้อกำหนดอื่นๆ

d)         เก็บรักษาเอกสารสารสนเทศของผลการประเมินความสอดคล้อง

 

มาตรฐานต้องการให้เป็นกระบวนการ แปลว่าต้องทำอย่างมีกระบวนท่า และมีผู้รับผิดรับชอบ

การปฏิบัติสอดคล้องกับกฎหมายเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการพิจารณาประสิทธิผลของ ระบบการบริหารจัดการOH&S

ความถี่และจังหวะเวลาของการประเมินการสอดคล้องตามกฎระเบียบอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อกำหนด ความแตกต่างของสภาพการปฏิบัติการ การเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ และ ประสบการณ์ในการผิดพลาดหรือเกิดปัญหาในอดีต หรือ ตามกำหนดโดยกฎหมาย ในการประเมินความสอดคล้องเป็นสิ่งดีที่จะใช้ระบบ Independent review โดยการให้มีการ cross check กันได้ในองค์กร

องค์กรสามารถใช้วิธีการต่างๆที่หลากหลายเพื่อรักษาความรู้และความเข้าใจในสถานะการปฏิบัติตามกฎหมายกฏระเบียบและข้อกำหนดอื่นๆ

องค์กรสามารถทำการประเมินความสอดคล้องในกฎหมายแต่ละฉบับหรือรวมๆกันก็ได้

วิธีการที่เราสามารถใช้ในการประเมินความสอดคล้อง เช่น

  1. การตรวจประเมิน audits,
  2. การทบทวนเอกสาร บนทัก document and/or records review,
  3. การตรวจสอบสถานประกอบการ facility inspections,
  4. การสัมภาษณ์ interviews,
  5. การทบทวนงาน โครงการ project or work reviews,
  6. การสุ่มทดสอบ/การวิเคราะห์ ต่างๆ
  7. การเข้าสำรวจสถานประกอบการ หรือสังเกตโดยตรง facility tour and/or direct observation

แผนงานการประเมินความสอดคล้องนี้ สามารถควบรวมกับการกิจกรรมการประเมินอื่นๆ ขององค์กรซึ่งรวมถึงการตรวจประเมินภายในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือ การตรวจสอบความปลอดภัยทั่วไปตามปกติก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำซ้อนหรือแยกบันทึกแต่อย่างใด เช่นเดียวกันกับข้อกำหนดอื่น ๆที่ไม่ใช่กฎหมายซึ่งองค์กรเกี่ยวข้อง ในประเด็นนี้องค์กรอาจจะแยกกระบวนการต่างหาก หรือทำไปพร้อม ๆกันกับการประเมินความสอดคล้องกฎหมาย

 

Trick

NA

 

นิยาม

3.9
ข้อกำหนดทางกฎหมาย และ ข้อกำหนดอื่น ๆ
ข้อกำหนดทางกฎหมาย ที่ซึ่งองค์กร (3.1) ต้องปฏิบัติตาม และข้อกำหนดอื่น ๆ (3.8)ที่องค์กรเลือกที่ทำให้สอดคล้อง

หมายเหตุ 1 ข้อมูล – สำหรับจุดประสงค์ของมาตรฐานสากลนี้ ,ข้อกำหนดทางกฎหมาย และ ข้อกำหนดอื่น ๆ เป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหาร OH&S(3.11).

หมายเหตุ 2 ข้อมูล - ข้อกำหนดทางกฎหมาย และ ข้อกำหนดอื่น ๆอาจรวมถึงข้อบัญญัติในข้อตกลงร่วม

หมายเหตุ 3 ข้อกำหนดทางกฎหมายและ ข้อกำหนดอื่น ๆ รวมถึงการพิจารณาโดยบุคคลที่เป็นตัวแทนผู้ทำงาน (3.3) ตามกฎหมาย, กฏระเบียบ, ข้อตกลงร่วม และ แนวทางปฏิบัติ

3.16

วัตถุประสงค์

ผลลัพธ์ที่ต้องบรรลุ

หมายเหตุ 1 ข้อมูล: วัตถุประสงค์สามารถเป็นเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี หรือเชิงปฏิบัติการ

หมายเหตุ 2 ข้อมูล:   วัตถุประสงค์สามารถเกี่ยวข้องกับ disciplines ต่าง ๆ (อาทิเช่น เป้าหมายทางการเงิน ,สุขอนามัยและความปลอดภัย , และทางสิ่งแวดล้อม) และสามารถประยุกต์ใช้ในระดับต่าง ๆ (อาทิเช่น กลยุทธ์ทั่วทั้งองค์กร โครงการ ผลิตภัณฑ์ และกระบวนการ (3.25)).

หมายเหตุ 3 ข้อมูล:   วัตถุประสงค์สามารถแสดงได้ในหลาย ทาง อาทิเช่น ตามผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้,จุดประสงค์ ,เกณฑ์การปฏิบัติงาน ,วัตถุประสงค์ OH&S (3.17) ,หรือ ใช้คำอื่น ๆ ที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน (ตัวอย่างเช่น จุดประสงค์ เป้าหมาย หรือ เป้าประสงค์).

หมายเหตุ 4 : ได้มาจากคำศัพท์และคำจำกัดพื้นฐานสำหรับระบบการบริหารจัดการ ISO Annex SL รวมถึง ISO/IEC Directives ส่วนที่ 1 หมายเหตุ 4 ตั้งแต่ต้นได้ถูกนำออกเนื่องจาก คำว่า occupational health and safety objective ได้มีการแยกข้อเป็น 3.17

3.17

วัตถุประสงค์ด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

วัตถุประสงค์ OH&S

วัตถุประสงค์ (3.16) ที่องค์กรตั้ง (3.1) เพื่อบรรลุผลลัพธ์เฉพาะที่สอดคล้องกับนโยบายด้าน OH&S(3.15)

3.27

สมรรถนะ

ผลลัพธ์ที่วัดผลได้

หมายเหตุ 1 ข้อมูล: สมรรถนะสามารถเกี่ยวกับผลเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ ผลลัพธ์สามารถใช้พิจารณาและประเมินได้ด้วยวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

หมายเหตุ 2 ข้อมูล: สมรรถนะสามารถเกี่ยวกับการบริหารกิจกรรมต่าง ๆ, กระบวนการต่าง ๆ (3.25), ผลิตภัณฑ์ (รวมถึงบริการ) ระบบหรือองค์กร (3.1).

หมายเหตุ 3 : ได้มาจากคำศัพท์และคำจำกัดพื้นฐานสำหรับระบบการบริหารจัดการ ISO annex SL รวมถึง ISO/IEC Directives ส่วนที่ 1 หมายเหตุ1 ได้มีการปรับเพื่อขยาย ชนิดของวิธีที่ซึ่งใช้ในการพิจารณาและประเมินผล

3.28

สมรรถนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

สมรรถนะOH&S

สมรรถนะ (3.27) เกี่ยวกับประสิทธิผล (3.13) ในการป้องกันการได้รับบาดเจ็บและภาวะทุขภาพ(3.18) แก่ผู้ทำงาน(worker) (3.3) และ การให้สถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและน่าอยู่น่าทำงาน (3.6)

3.30

การเฝ้าระวังติดตาม

การพิจารณากำหนดสถานะของระบบ, กระบวนการ (3.25) หรือกิจกรรม

หมายเหตุ 1 ข้อมูล: ในการพิจารณาสถานะ, อาจจำเป็นต้องทำการตรวจสอบ, ควบคุมดูแล หรือ การระวังสังเกตุการณ์ที่สำคัญ

หมายเหตุ 2 ข้อมูล: ได้มาจากคำศัพท์และคำจำกัดพื้นฐานสำหรับระบบการบริหารจัดการ ISO annex SL รวมถึง ISO/IEC Directives ส่วนที่ 1

3.31

การวัดผล

กระบวนการ (3.25) ในการตัดสินค่า

หมายเหตุ 1 ข้อมูล: ได้มาจากคำศัพท์และคำจำกัดพื้นฐานสำหรับระบบการบริหารจัดการ ISO annex SL รวมถึง ISO/IEC Directives ส่วนที่ 1

-END-