ดาวน์โหลดบทความแบบ MS word

8.1.4   การจัดซื้อจัดจ้าง Procurement

8.1.4.1 ทั่วไป

องค์กรต้องจัดทำ นำไปปฏิบัติ และธำรงรักษากระบวนการ เพื่อควบคุม การจัดซื้อจัดจ้าง ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อทำให้มั่นใจการสอดคล้องกับข้อกำหนดระบบบริหาร OH&S

ข้อกำหนดนี้ ได้กำหนดไว้ในส่วน การควบคุมปฏิบัติการ ในมาตราฐาน OHSAS 18001:2007 ข้อ 4.4.6 ขณะที่มาตรฐาน ISO45001:2018 นี้ใช้คำว่า procurement

ข้อกำหนดข้อ 8.1.3 ของ ISO45001 ได้มีการกำหนดในส่วนการบริหารการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นในส่วนการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องจักร หรือ แรงงาน ใดๆ ต้องมีการพิจารณาประเด็นด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

change

การจัดซื้อจัดจ้าง ผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่จะส่งผลต่อการทำให้บรรลุผลลัพธ์ตามนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ข้อกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยเหตุผลนี้ การควบคุมงานจัดซื้อจัดจ้างจึงมีส่วนสำคัญ

กระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับการจัดซื้อและจัดจ้าง มีเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร และบริการเป็นไปตามความต้องการขององค์กร และมีการคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร และบริการ

การที่องค์กรมีระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่ดี จะช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับกระบวนการต่างๆ ในองค์กรซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงและป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

ขั้นตอนการดำเนินงานควรครอบคลุมถึงการคัดเลือกและการประเมินผู้ส่งมอบและผู้รับเหมา การทบทวนข้อมูลในการจัดซื้อและจัดจ้าง การชี้บ่ง การประเมินผลและการควบคุมผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร และบริการ ที่เข้ามาสู่องค์กร

 

TIP

ข้อกำหนดนี้ไม่ใช่ข้อกำหนดใหม่ เป็นข้อกำหนดที่มีใน OHSAS 18001:2007 อยู่แล้ว (ทั้งในส่วนการควบคุมการปฏิบัติการและการระบุอันตราย) แต่ไม่ว่าอย่างไรมักมีการนำข้อกำหนดนี้ในมุมการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เป็นหลัก และมักไม่ครอบคลุมงานจัดจ้างในห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ของตน ในมุมของระบบการบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งการบริหารห่วงโซ่อุปทานถือเป็นกุญแจและยุทธศาสตร์สำคัญที่จะส่งผลสำเร็จทางธุรกิจอย่างยั่งยืน

 operation


8.1.4.2          ผู้รับเหมา(Contractors)

องค์กรต้องประสานงานกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง กับผู้รับเหมา, สำหรับการบ่งชี้อันตราย และเพื่อประเมินและควบคุม ความเสี่ยงด้าน OH&S ,ซึ่งเกิดขึ้นจาก

a) กิจกรรมและการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาที่กระทบต่อองค์กร
b)กิจกรรมและการปฏิบัติงานขององค์กรที่กระทบต่อผู้ทำงาน(worker)ของผู้รับเหมา
c)กิจกรรมและการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาที่กระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นในสถานที่ทำงาน

องค์กรต้อง มั่นใจว่า ข้อกำหนดของระบบการบริหารจัดการ OH&Sของตนได้บรรลุโดย ผู้รับเหมาและผู้ทำงาน(worker)ของผู้รับเหมา กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร ต้องกำหนดและใช้เกณฑ์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำหรับการคัดเลือกผู้รับเหมา

หมายเหตุ จะเป็นประโยชน์ในการควบรวม เกณฑ์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการคัดเลือกผู้รับเหมา ในเอกสารสัญญา

 

เป็นข้อกำหนดเดิม OHSAS 18001:2007 ก็มีข้อกำหนดนี้เช่นกัน ไม่แตกต่าง แต่อย่างใด ในส่วนนี้

ผู้รับเหมา ในบ้านเรา มักรู้จักในคำว่า จัดจ้าง จากข้อกำหนด หากเป็นผู้รับเหมา ท่านต้องมีการ บ่งชี้อันตราย และเพื่อประเมินและควบคุม ความเสี่ยงด้าน OH&S แต่หากเป็นการจัดซื้อหรือจัดจ้างจากแหล่งภายนอก(outsource) มาตรฐานไม่บังคับให้ต้องทำดังกล่าว แปลว่างานที่ให้ผู้รับเหมาทำต้องได้รับการระบุอันตราย ประเมินความเสี่ยง และ กำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงด้าน OH&S

สังเกตุได้ว่า เพราะต้องมีการ บ่งชี้อันตราย และเพื่อประเมินและควบคุม ความเสี่ยงด้าน OH&S ต่อคนงานของผู้รับเหมา ผู้รับเหมาจึงต้องเป็นอะไรที่ใกล้ไม้ ใกล้มือ ควบคุมได้ ติดตาม สังการได้ แทรกแทรงได้ บังคับได้อย่างเต็มที่ การควบคุมผู้รับเหมาจึงเป็นเรื่องของคนงานที่ทำงานในสถานที่ของเรา

มาตรฐานนี้บังคับให้มีการกำหนดและใช้เกณฑ์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำหรับการคัดเลือกผู้รับเหมา แต่หากเป็นการจัดซื้อหรือจัดจ้างจากแหล่งภายนอก(outsource) มาตรฐานไม่บังคับให้ต้องทำดังกล่าว

การควบคุมผู้รับเหมานี้ จริงๆเป็นเรื่องของการควบคุมคนที่ไม่ใช่คนขององค์กรท่าน ไม่ว่าคนงานนั้นจะเป็นคนงานชั่วคราวที่รับเงินจากเรา หรือคนของผู้รับเหมาที่เข้ามาในสถานที่เราชั่วคราว หรือคนของลูกค้าที่เข้ามาชั่วคราว(visitor) ซึ่งการควบคุมคนที่ไม่ใช่คนขององค์กรท่านนี้ ไม่ว่า การให้เซ็นต์เข้าสถานที่ การบังคับใช้ PPE การบังคับอบรมในระดับเดียวกับคนของเราหากต้องทำงานเดียวกัน ( ISO45001 ; ข้อ 7.2)

คนที่ไม่ใช่คนขององค์กรในสถานที่ทำงาน

ประเภท

ประเภทของงาน

ผู้เยี่ยมชม

เยี่ยมชมสถานที่ เข้าร่วมประชุม ตรวจสอบชิ้นงาน

คนงานชั่วคราว

ทำงานทดแทนคนงานขององค์กร

ผู้รับเหมา

ซ่อมบำรุง ทำสี ก่อสร้าง ทำความสะอาด หรือ ให้บริการใดๆ   ณ สถานทีทำงาน

ผู้ขายหรือ ผู้ส่งมอบ

ส่งมอบสินค้า บริการ ณ สถานที่

เมื่อองค์กรได้มีการว่าจ้าง ผู้รับเหมา ( a person working under its control) ทำงาน ณ สถานที่ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขององค์กร ซึ่งในบางกรณี งานที่ทำโดยผู้รับเหมาอาจมีความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่สุงกว่ากิจกรรมขององค์กรเอง ดังนั้นมาตรการควบคุมจึงแตกต่างตามลักษณะงานและ OH&S Risk และบริหารจัดการตามความเสี่ยงของอันตรายนั้นๆ

กระบวนการ ( ระบบ ) ในการบริหารจัดการผู้รับเหมาโดยทั่วไป

• สร้างเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้รับเหมา และ ใช้เป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขสัญญาว่าจ้าง
• สื่อสารของความต้องการขององค์กร ด้าน OH&S ขององค์กรสู๋ผู้รับเหมา
• ประเมิน เฝ้าติดตามตรวจสอบ และประเมินซ้ำ ในส่วนสมรรถนะด้านOH&Sของผู้รับเหมา

กระบวนการ(ระบบ) ในการบริหารจัดการผู้รับเหมาในกรณีมีคนงานของผู้รับเหมา ( เช่นเดียวกับ คนงานของ outsource) เข้ามาทำงานในพื้นที่เรา ในกรณีนี้ เนื่องจากความรู้และกำลังความสามารถของแต่ละบุคลากรที่มาจากภายนอกมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมา ดังนั้นควรมีการพิจารณาก่อนจัดทำมาตรการควบคุมในแต่ละราย
ตัวอย่างมาตรการควบคุมเช่น :

o การควบคุมการเข้าถึงพื้นที่;
o การใช้ PPE , การขอการอนุญาติก่อนเริ่มงาน
o การใช้อุปกรณ์ Lockout/tagout
o การทำงานในที่สูง
o สร้างความรู้และกำลังความสามารถ ก่อนที่จะอนุญาติให้ใช้อุปกรณ์
o ให้คำแนะนำและการฝึกอบรมตามความจำเป็น
o การแจ้งให้ทราบหรืออบรมหรือฝึกในส่วนของ การอพยพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
o ควบคุมด้วยป้ายเตือน หรือ ใช้การควบคุมเชิงการจัดการ
o วิธีในการติดตามพฤติกรรม และกำกับดูแลกิจกรรมของพวกเขา


8.1.4.3 เอาต์ซอร์ส (แหล่งภายนอก Outsourcing)

องค์กรต้องทำให้มั่นใจว่า กระบวนการและฟังชั่นงานจากแหล่งภายนอกได้รับการควบคุม.

องค์กรต้องมั่นใจว่า การประสานงานกับแหล่งภายนอกสอดคล้องกับข้อกำหนดกฏหมายและข้อกำหนดอื่นๆ และ บรรลุ ผลลัพธ์ที่ต้องการของระบบการบริหาร OH&S.   ประเภทและระดับการควบคุมที่ประยุกต์ใช้กับกระบวนการและฟังชั่นเหล่านี้ต้องมีการกำหนดภายในระบบบริหาร OH&S

หมายเหตุ การประสานงานกับผู้ให้บริการภายนอก สามารถช่วยให้องค์กรจัดการกับผลกระทบจากแหล่งภายนอกต่อสมรรถนะ OH&S

 

เป็นข้อกำหนดใหม่ ซึ่ง OHSAS 18001:2007 ไม่มี

ท่านต้องเข้าใจว่า supply chain กับ subcontractor chain ต่างกัน

มาตรฐานไม่ได้บังคับ ให้ต้องมี เกณฑ์ มีคะแนน มีวิธีการ ในการเลือก ประเมิน ติดตาม เหมือน ISO9001 แต่อย่างไร

การบริหารห่วงโซ่อุปทาน ถือเป็นกุญแจและยุทธศาสตร์สำคัญที่จะส่งผลสำเร็จทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ในมุมระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  ว่าแต่ว่าท่านได้บริหารห่วงโซ่อุปทานในมุม OH&S ไปบ้างหรือยัง !

 Outsource คือ บริษัทในห่วงโซ่อุปทานของท่าน เป็นองค์กรภายนอกที่มีอิสระในการบริหารกิจการของตน ที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการใดๆ สู่องค์กรท่าน ที่ซึ่งท่านต้องขอการรับรอง องค์กรในห่วงโซ่อุปทานนี้ ต้องได้รับการควบคุมแบบ outsource control (แม้ว่าจะอยู่นอกขอบเขตการรับรองก็ตาม)

มาตรฐานไม่บังคับตรงๆ ให้มีการกำหนดและใช้เกณฑ์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำหรับการคัดเลือก outsource แต่อย่างใด ซึ่งสิ่งนี้แตกต่างจาก ผู้รับเหมา (Contractors)

ประเภทและระดับการควบคุมที่ประยุกต์ใช้กับกระบวนการและฟังชั่นเหล่านี้จะทำมากทำน้อย จะคุมเข้มหรือแบบจางๆ ก็แล้วแต่องค์กรเอง เลือกได้ โดยใช้หลักเกณฑ์พิจารณาในมุม การสอดคล้องกับข้อกำหนดกฏหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ และ การบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการของระบบการบริหาร OH&S ขององค์กรเอง (ซึ่งแปลว่าเลือกได้ ทำมาก ทำน้อย เพียงให้เหมาะกับบริบทองค์กร ณ ขณะนั้น ข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้เสียนั้น)

การทำมากทำน้อย ขนาดไหน หรือไม่ทำ ก็อยู่ที่ ผลกระทบของ outsource นั้นๆ ต่อ สมรรถนะ OH&S ที่ต้องการ

หากกรณีที่มีกิจกรรมของ outsource ในสถานที่ทำงานหรือใกล้สถานที่ทำงานที่ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อ OH&S Risk ต่อคนขององค์กรท่าน หรือกระทบคนงานของoutsource เอง องค์กรต้องพิจารณา ประเภทและระดับการควบคุมที่ประยุกต์ใช้อย่างเข้มงวด

ประเภทและระดับการควบคุมที่ประยุกต์ใช้กับกระบวนการและฟังชั่นเหล่านี้ หากทำน้อย ก็ทำผ่านกระบวนการจัดซื้อปกติ

กระบวนการ(ระบบ)ในการควบคุมการจัดซื้อ จัดจ้าง

ขอบเขตและรายละเอียดของการจัดทำเอกสารการจัดซื้อขึ้นอยู่กับระดับของความเสี่ยงที่ได้จากการประเมินซึ่งเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร และบริการ นั้นๆ

• จัดทำข้อกำหนด เสปค สินค้า อุปกรณ์ และ บริการที่จะซื้อ
• สารเคมีอันตราย ควรต้องมีเอกสารแสดงข้อมูลเคมีภัณฑ์เพื่อความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet)
• อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร ควรต้องได้รับการพิจารณาข้อมูลรายละเอียดด้านความปลอดภัย เช่น ข้อมูลรายละเอียด ของเครื่องจักร อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ติดมากับเครื่องจักร (guard) และควรมีเอกสารคู่มือ การใช้งาน และการบำรุงรักษา
• อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัด ควรต้องมีเอกสารคู่มือการใช้งาน การบำรุงรักษา และการสอบเทียบ (calibration)
• สื่อสารข้อกำหนด OH&S ขององค์กร ให้กับ ซัพพลายเออร์
• มีข้อกำหนด ที่ต้องให้มีการขออนุมัติล่วงหน้าสำหรับการซื้อ หรือ ขนส่ง/ขนถ่ายสารเคมีอันตราย วัสดุอันตรายใดๆ
• มีข้อกำหนดในการอนุมัติล่วงหน้าและกำหนดเสปคสำหรับการซื้อเครื่องจักรใหม่และอุปกรณ์
• มีข้อกำหนดในการขออนุมัติล่วงหน้าจากขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยของเครื่องจักร อุปกรณ์ และ/หรือการขนถ่าย ยกขนอย่างปลอดภัยของวัสดุ ชิ้นส่วน อุปกรณ์ ก่อนการนำไปใช้
• คัดเลือกและเฝ้าติดตามซัพพลายเออร์ ในมุมสมรรถนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
• การทำตรวจสอบสินค้า อุปกรณ์เครื่องจักร และ การทวนสอบสมรรถนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของซัพพลายเออร์ ณ สถานที่
• ให้ผู้ส่งมอบเสนอส่ง โครงการในเรื่องการปรับปรุงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภ้ย เพื่อร่วมประกวด
• ให้ความรู้ ให้งบประมาณ ร่วมกันปรับปรุงสถานประกอบการของซัพพลายเออร์ให้มีความปลอดภัยหรือส่งผลดีต่อ อาชีวอนามัยของคนงานซัพพลายเออร์
• กำหนดให้ซัพพลายเออร์ ส่งรายงานสมรรถนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
• อนุมัติการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ให้กับซัพพลายเออร์

 

การจัดการซัพพลายเชนเป็นเรื่องของการสร้างแรงกดดันและสร้างแรงจูงใจ

ตัวอย่างการจัดการที่กระทำได้เช่น

• ลดจำนวนของการตรวจสอบ(audit)
• จัดทำโปรแกรมซัพพลายเออร์ดีเด่น
• ให้ธุรกิจ ให้งานเพิ่มขึ้น
• ห้รางวัลและประกาศการรับรู้
• อนุญาตให้มีส่วนร่วมในการวางแผนหรือร่วมการประชุม เชิงกลยุทธ์ (strategic buyer/supplier planning meetings)
• แบ่งปันต้นทุนสำหรับปรับปรุงความยั่งยืน
• ให้ความช่วยเหลือสำหรับการสร้างขีดความสามารถ

หากองค์กรท่านมีความต้องการหรือจำเป็นต้องจัดการกับซัพพลายเชน

สิ่งที่องค์กรสามารถกระทำได้ หรือควรกระทำ คือ

• แบ่งปันข้อมูลทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเออร์
• สร้างความสัมพันธ์ระยะยาว
• สร้างแรงจูงใจเพื่อความยั่งยืน
• กำหนดความคาดหวังในการการปรับปรุงระบบการจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
• ส่งเสริม และให้รางวัลด้วยความโปร่งใส
• ให้ความสำคัญกับวิธีการดำเนินธุรกิจของตนเองที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถของซัพพลายเออร์เพื่อตอบสนองความยั่งยืนที่คาดหวัง

 

 


นิยาม

3.6
สถานที่ทำงาน
สถานที่ภายใต้การควบคุมขององค์กร (3.1) ที่บุคคลต้องเป็นหรือต้องไปเพื่อการทำงาน
หมายเหตุ 1 ข้อมูล- ความรับผิดชอบขององค์กรภายใต้ระบบบริหาร OH&S(3.11) สำหรับสถานที่ทำงานต้องขึ้นอยู่กับระดับความสามารถในการควบคุมสถานที่ทำงาน

 

3.7
ผู้รับเหมา
องค์กรภายนอก (3.1) ที่ให้บริการแก่องค์กรตามสเปคและเงื่อนไขตามตกลงกัน
หมายเหตุ 1 ข้อมูล- การบริการอาจรวมถึงกิจกรรมการก่อสร้าง

 

3.28
สมรรถนะด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
สมรรถนะOH&S
สมรรถนะ (3.27) เกี่ยวกับประสิทธิผล (3.13) ในการป้องกันการได้รับบาดเจ็บและภาวะทุขภาพ(3.18) แก่ผู้ทำงาน(worker) (3.3) และ การให้สถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและน่าอยู่น่าทำงาน (3.6)

3.29
เอาต์ซอร์ส (แหล่งภายนอก)
การทำการประสานงาน ให้องค์กรภายนอก(3.1) ทำหน้าที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของฟังก์ชั่นหรือกระบวนการขององค์กร (3.25)

หมายเหตุ 1 ข้อมูล: องค์กรภายนอกอยู่นอกขอบเขตระบบบริหาร (3.10) แม้ว่าหน้าที่หรือกระบวนการที่จ้างแหล่งภายนอกอยู่ภายในขอบเขต
หมายเหตุ 2 ข้อมูล: ได้มาจากคำศัพท์และคำจำกัดพื้นฐานสำหรับระบบการบริหารจัดการ ISO annex SL รวมถึง ISO/IEC Directives ส่วนที่ 1


ดาวน์โหลด บทความแบบ MS word