culture

มาตรฐาน ISO ได้ทำการปรับปรุง โดยได้กำหนด ให้มีแผนในการสร้างและจัดการกับวัฒนธรรม

การจะทำสิ่งนี้ได้

ท่านต้องมีความเข้าใจพื้นฐานความเข้าใจบางอย่าง

ท่านต้องรู้บางสิ่ง  ท่านต้องเข้าใจบางอย่าง

ท่านต้องมีพื้นฐานความเข้าใจพอสมควร

เพื่อให้สามารถออกแบบ ปรับปรุง ปรับเปลี่ยน และทำการตรวจประเมินระบบการบริหารได้ 

 

อะไรคือวัฒนธรรม

เมื่อกล่าวถึง "วัฒนธรรม" 
ต้องนึกถึงขนบธรรมเนียมประเพณี
 
เป็นประเพณี ที่กลุ่มคนสังคมนั้นๆยึดถือปฏิบัติกันมานาน
เป็นมรดกแห่งสังคมนั้นๆ 
เป็น ความเชื่อ วิถี ชีวิต พฤติกรรม ความเป็นอยู่ ของกลุ่มคน 
ที่ซึ่งไม่ว่าอย่างไรก็ทำเช่นนี้
หากเป็นคนในสังคมนั้นๆ

คำว่า "วัฒนธรรม"+"องค์กร"
ย่อมหมายถึง ความเชื่อ วิถี ชีวิต พฤติกรรม ความเป็นอยู่ของกลุ่มคน ในองค์กรนั้นๆ 
ที่ซึ่งยึดถือปฏิบัติกันมานาน เป็นมรดกขององค์กรนั้น
 
วัฒนธรรมองค์กร
จึงมีความหมายอย่างไม่เป็นทางการ  ว่า.....
เป็นความเชื่อ วิถี วิธี ที่องค์กรปฏิบัติ  
 
เป็น วัฒนธรรม จะชักนำให้
คนในองค์กรท่านกระทำพฤติกรรม ต่างๆ
แม้สิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในกฏ กติกา คู่มือทำงาน
ไม่มีใครมาสั่ง ไม่มีใครเห็น 
ไม่อยู่ในกฏระเบียบปฏิบัติใดๆ
แต่คนในองค์กรท่าน ก็จะทำ 
ไม่ว่าสิ่งที่ทำจะดีหรือไม่ดี แต่เขาก็จะทำ
 
องค์กรที่มีวัฒนธรรมเข้มแข็ง
จะมี ความเชื่อ วิถีทาง  ที่ให้บุคลากรภายใน
ยึดมั่น ถือมั่น จนเป็นกฎเกณฑ์ในทางปฏิบัติ 
และคงอยู่เป็นเวลานาน
ไม่ว่า จะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
 
กล่าวโดยสรุป 
วัฒนธรรมคือความเชื่อ 
วัฒนธรรมคือพฤติกรรม
ของคนในสังคมนั้นๆ 
ที่ได้รับการปฏิบัติจนเป็นนิสัยที่ฝังลึก
 
วัฒนธรรมจะผูกมัดคนไว้ด้วยกัน
เป็นอุปนิสัยของคนในองค์กร 
คนจะทำเช่นนั้น ประพฤติแบบนั้น แม้ว่าไม่มีคนรู้ คนเห็น 
แม้ว่า ไม่มีกฏระเบียบ บอกให้ทำ
แม้ว่าไม่มีใครสั่งให้ทำ ก็จะทำ
 
เพื่อความเข้าใจเบื้องต้นในการทำความเข้าใจ
 
ท่านควรเริ่มโดยถามตัวท่านเองว่า
ท่านสามารถตอบคำถามเหล่านี้สำหรับองค์กรท่านได้หรือไม่ ?
• องค์กรท่านมีวัฒนธรรมหรือไม่ 
• คนในองค์กรในบริษัทรับรู้ถึงความเชื่อเหล่านี้หรือไม่ มีใครบ้างที่รู้ และมีกี่คน
• ความเชื่อเหล่านี้มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจแต่ละวันอย่างไร
• ความเชื่อเหล่านี้ได้มีการเผยแพร่สื่อสารไปทั่วองค์กรได้อย่างไร
• ความเชื่อเหล่านี้ได้รับแรงเสริม เช่นการยอมรับเห็นชอบหรือให้รางวัลหรือไม่
 

ทำไม ต้องมีวัฒนธรรมการทำงานที่ดี

วัฒนธรรมคือกฎระเบียบที่ไม่เป็นทางการ 
ที่จะบอกบุคลากรว่าควรต้องปฏิบัติอย่างไร
 
การที่คนในองค์กร
รู้ชัดว่าบริษัทคาดหวังอะไรกับเขา
คนนั้นจะเสียเวลาในการตัดสินใจปฏิบัติในสถานการณ์ต่างๆน้อยลง
ดึงเรื่องน้อยลง สร้างปัญหาน้อยลง เชื่อใจกันมากขึ้น
 
ขั้นตอนในการทำงานจะสั้นลง (lean)
คนจะไว้วางใจกันมากขึ้น ทำงานเป็นทีมมากขึ้น
แก้ไขปัญหาร่วมกันมากขึ้น
และสุดท้าย
จะส่งผลให้องค์กรมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ไว้ใจได้ 
 
ซึ่งทำให้องค์กรท่าน
มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดความผิดพลาดที่จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรกำหนด
รวมถึงมั่นใจได้ว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรกำหนดไว้
 
องค์กรที่มีวัฒนธรรมไม่ชัด เบลอๆ
คนในองค์กรจะเสียเวลาพยามค้นหาว่าควรทำตัวอย่างไร ควรทำอะไร
 
องค์กรที่มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งจะทำให้
ผู้ทำงานมีความมั่นใจในสิ่งที่ถูกต้อง
จึงมีแนวโน้มว่าทำงานหนักขึ้น ไม่โยนความผิดให้ผู้อื่น
  

ทำอย่างไร ให้รู้ว่า วัฒนธรรมในองค์กรท่านเป็นอย่างไร 

แนะให้หลับตามนึกถึงการย้ายไปที่ทำงานใหม่
หรือไม่ก็โดนไล่ออก แล้วไปทำงานที่ใหม่ 
 
ท่านจะรับรู้ได้ทันที
ในวันแรกๆของการทำงานในที่ใหม่  
ว่าที่ใหม่ มีวัฒนธรรมในการทำงานอะไร แตกต่างไปจากที่ทำงานเดิมอะไร 
 
ส่วนวัฒนธรรมจะดีหรือเหมาะกับท่านหรือไม่ 
ท่านจะรู้เอง
เมื่อท่านพบได้เองว่า
จะทำงานที่ทำงานใหม่นี้ได้นานหรือไม่ 
 
ซึ่งหมายถึงว่า 
การที่ท่านทำงานอยู่ที่ไหนนานๆ 
แปลว่าท่านชอบวัฒนธรรมการทำงานของที่นั่น
และท่านจะตอบไม่ได้ว่าวัฒนธรรมของที่ทำงานท่านคืออะไรอีกครั้ง ?
 
การเลือกทำงานให้กับบริษัทใด
เท่ากับเลือกวิถีทางดำเนินชีวิตของท่าน  
 
วัฒนธรรมองค์กร
จะสร้างให้ท่าน 
เป็นคนเฉยชาหรือมุ่งมั่น  
เป็นผู้จัดการที่ทรหด
หรือ เน้นรักษามิตรภาพ 
เป็นคนทำงานเป็นทีม
หรือ ตัวคนเดียว 
เป็นคนรับผิดรับชอบ
หรือปัดสวะ เอาตัวรอด ไปวันๆ
 
มื่อเวลาผ่านไปหลายหลายปี
คนจะปรับเข้ากับวัฒนธรรมเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว
 
เมื่อเปลี่ยนงานใหม่เค้าจะพบความประหลาดใจ 
ถึงความแตกต่างของที่ทำงานเก่าเสมอ
ดังนั้นสำหรับเรื่องวัฒนธรรม ไม่สร้างก็มี 
 
หลายๆองค์กรที่มีตัง
งานยุ่งเหลือเกิน งบเยอะเกิน
มักจ้างที่ปรึกษามาออกแบบสำรวจวัฒนธรรม 
ทั้งที่เป็นหน้าที่ของผู้นำและพนักงานในองค์กรทราบดี
เพราะว่าดูดี ดูดีตั้งแต่ตั้งโครงการ 
 

สิ่งที่ท่านต้องเข้าใจก่อนสร้างวัฒนธรรม

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ มีผลต่อวัฒนธรรมเสมอ
 
บริษัทแต่ละบริษัทมีลักษณะที่แตกต่างกัน
มีประเภทธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน  
 
ขึ้นอยู่กับผลผลิต คู่แข่ง ลูกค้า เทคโนโลยี 
สภาพแวดล้อมที่บริษัทดำเนินการ
เป็นตัวกำหนดว่าบริษัทต้องทำอะไรเพื่อให้บริษัทประสบความสำเร็จ
สไตล์แต่ละบริษัทจึงต่างกัน
 
สภาพแวดล้อมของธุรกิจนี้
มีผลมากที่สุดในการหล่อหลอมวัฒนธรรมองค์กร
 
การจัดการหน่วยงานราชการ กับ เอกชน นั้นต่างกัน
การจัดการธนาคารกับร้านอาหารจึงมีความไม่เหมือนกัน
จะหวังให้วัฒนธรรมองค์กรเหมือนกันคงยากยิ่ง
 
แม้ในธุรกิจที่คล้ายๆกัน
ก็จะมีความแตกต่างในการแข่งขัน
บางแห่งเน้นต้นทุน บางแห่งเน้นเร็ว บางแห่งเน้นรอบคอบ 
บางแห่งยอมรับความเสี่ยงได้  บางแห่งไม่ 
บางแห่งเจ้านายเป็นใหญ่  บางแห่งใช้ระบบประชาธิปไตย
บางแห่งพูดมากเป็นเรื่อง บางแห่งอยากให้แชร์ความคิด
บางแห่งเน้นตอกบัตร บางแห่งเน้นที่ผลงาน 
บางแห่งเน้นข้อมูล บางแห่งเน้นวาทะกรรม การแสดงละคร 
 
ผู้บริหารระดับสูงจึงต้องเป็นผู้ที่กำหนดและปลูกฝังวัฒนธรรม
เพราะเป็นคนที่รู้ดีที่สุดตามเหตุผลข้างต้นและได้รับผลมากที่สุดจากวัฒนธรรมองค์กร 
 
ผู้ก่อตั้งบริษัททุกคน
ต่างทุ่มเททำงานเพื่อปลูกฝังวัฒนธรรม
จ้ำจี้จำไชในยุคก่อตั้งธุรกิจ
 
ในยุคเรื่มต้นที่ท่านลุยเอง
ให้คนในองค์กรปฏิบัติ 
 
ไม่ว่าท่านจะทราบหรือไม่ก็ตาม 
สิ่งที่ท่านคิด ท่านตัดสินใจ ท่านทำให้เป็นตัวอย่าง
ท่านให้รางวัลกับใคร 
ท่านให้รางวัลกับอะไร
ท่านให้เวลากับสิ่งไหน.
สิ่งเหล่านี้ กลายเป็นวัฒนธรรมในองค์กร 
 
หลังผ่านตามกาลเวลา เนิ่นนาน ผ่านโพ้น 
หลังจากองค์กรขยายใหญ่โต
หลังผ่านลำดับชั้นการปกครองในองค์กร
วัฒนธรรมอาจเหมือนเดิม
หรืออาจเปลี่ยนไปในทางที่ดี
หรือไม่ก็แย่ลง
 
แต่วัฒนธรรมยังคงเป็นไป
ไม่ว่าดีหรือแย่ลง 
โดยการรับรู้รับเห็นจากผู้บริหารระดับสูง คนปัจจุบัน
วัฒนธรรมยังมีอยู่และคงอยู่ ทุกเมือเชือวัน
  

ค่านิยม กับวัฒนธรรม

ค่านิยมเป็นแนวคิด เป็นการกำหนความเชื่อพื้นฐานขององค์กร 
ค่านิยม มีความสัมพันธ์ กับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ไม่ว่ามุมใด ก็มุมหนึ่ง
 
ค่านิยมเปรียบเสมือนหัวใจของวัฒนธรรมองค์กร
 
ค่านิยม ในความหมายที่เห็นเด่นชัดสำหรับบุคลากร คือ เป้าหมาย คือความสำเร็จ 
หมายถึง หากองค์กรกำหนดไว้เยี่ยงนี้ และ ถ้าท่านทำตามอย่างนี้ 
 
ท่านจะประสบความสำเร็จในองค์กรนี้ 
ด้วยค่านิยม เป็นสร้างมาตรฐานความสำเร็จ 
 

ทำไมองค์กรทั่วไป ไม่นิยม ระบุค่านิยมขององค์กร 

ค่านิยม เป็นสิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงทุกคนมีอยู่ในใจ
ผู้บริหารระดับสูง อาจเพียงไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้สิ่งต้องประสงค์ ได้รับการนำไปปฏิบัติ  ได้รับการกระทำตามจนเกิดผล
 
หรือ อาจยังมีเรื่องอื่นที่น่าสนใจ
เกินกว่า จะถกแขนเสื้อ ทำเอง ในเรื่องค่านิยมนี้
ทั้งที่ บริษัท มีผู้จัดการมากมาย และ มีระบบการจัดการบริหารที่ได้รับการรับรองมากมาย
จึงไม่ กำหนด หรือ ประกาศออกไป  
 
หรือ อาจเป็นเพราะผู้จัดการคนรองๆลงมาไม่มีความสามารถพอ ที่จะรับงานนี้ไปปฏิบัติต่อ
 
หรืออาจยังไม่เหมาะกับบริบทองค์กร ณวันนั้น เพราะที่ยังมีปัญหาเร่งด่วนให้แก้อีกหลายด้าน
 
จึงไม่อยากโกหกตนเอง 
จึงไม่อยากให้มีเศษกระดาษเพิ่ม ในองค์กร
เพื่อหลอกคนกันเองในบริษัทไปวันๆ
เหมือนนโยบายของ ISO บางบริษัท  ( ส่วนมากไว้เพื่อหลอกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ในweb และส่วนงานราชการบางหรือรัฐวิสาหกิจ บางแห่ง ที่มีไว้หลอก…………)
 
บางคนอาจละอายใจจึงไม่ทำ
บางคนอาจเพียงไม่รู้ว่า สามารถจัดการวัฒนธรรม ค่านิยม ผ่านมาตรฐานได้ 
หรือไม่ ก็ไม่รู้ว่าทำให้เป็นระบบได้ไม่ยาก
และให้ตัวแทนระบบบริหารช่วยทำได้    แฮ่ม !
 

อยากรู้ว่าค่านิยม  ที่ต้องการเป็นอย่างไร

ให้สังเกตุ ให้พิจารณา ให้เฝ้าดูว่า
เรื่องใด ที่ผู้บริหารระดับสูง ใช้ในการวางแผนธุรกิจ
เรื่องใด ที่ผู้บริหารระดับสูงท่านตัดสินใจ กระทำ สำหรับเหตุการณ์ต่างๆ 
เรื่องใด ที่ผู้บริหารระดับสูง พูด บอกกล่าว ติ ชม บ่น ว่า ในชีวิตทำงานประจำวัน  
หรือ การตัดสินใจใดๆ โดยผู้บริหาร ในที่ประชุมบริษัทในวาระต่างๆ
เรื่องอะไรที่เขา นิยมทำ หรือ นิยมที่อยากจะทำ หรือนิยมแค่เพียงจะพูด  
เรื่องนี้ ภาษาเท่ห์ๆ เรียก tone from the top

อยากรู้ว่าค่านิยม ที่เป็นอยู่เป็นอย่างไร

ให้สังเกตุ ให้พิจารณา ให้เฝ้าดูว่า ผู้ทำงานของท่าน
มีพฤติกรรม มีการตัดสินใจอย่างไร มีการทำงานกันอย่างไร ในชีวิตการงานประจำวัน 
 พฤติกรรม ที่ผู้บริหาร ท่านตัดสินใจ กระทำ สำหรับเหตุการณ์ต่างๆ 
พฤติกรรม ที่ผู้บริหาร พูด บอกกล่าว บ่น ในชีวิตทำงานประจำวัน  
พฤติกรรม ที่ผู้บริหาร ตัดสินใจใดๆ ในที่ประชุมบริษัทในวาระต่างๆ
 

Hero vs ค่านิยม

 วีรบุรุษในองค์กร คือบุคคลที่ได้รับการเชิดชูอย่างตั้งใจ (ของใครบางคน)
เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่น มีพฤติกรรมเลียนแบบ ให้ทำตาม  
วีรบุรษในองค์กร มักเป็นผู้ที่เป็นตัวอย่างของวัฒนธรรม 
เป็นคนที่พนักงานทุกคนรู้จัก 
เป็นบุคคลแบบอย่างสำหรับพนักงาน 
ที่ให้เห็นว่า ต้องทำ ต้องเป็น อย่างนี่แหละ 
ต้องเยี่ยงนี้ จึงสำเร็จ 
หรือได้รับการชื่นชมจากองค์กร
 
การชื่นชมบุคคลดีเด่น เกณฑ์การปรับตำแหน่ง การปรับเงินเดือน การให้รางวัลพิเศษ การกำหนดผู้เป็นพี่เลี้ยง จึงถูกใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมได้

ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีการ  vs วัฒนธรรม 

 ขอกล่าวถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีการ ก่อน
หลายอย่างในช่วงชีวิต ที่ท่านพบ ที่ท่านเห็น ในกาลเวลาที่ผ่านมา 
หล่อหลอมให้ท่าน ในฐานะคนไทย มีวัฒนธรรมแบบไทยๆ อย่างที่ท่านเป็น 
มีขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีการระดับครอบครัว เช่น ประเพณีการเกิด ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน รับน้อง ไหว้ครู การนั่งหัวโต๊ะ การไม่นั่งทับที่ 
มีขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีการระดับชุมชน เช่น  ประเพณี วันสงกรานต์ วันลอยกระทง แห่นางแมว ประเพณีสู่ขวัญข้าว ประเพณีบุญบั้งไฟ
มีขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีการระดับชุมชนทางศาสนาโดยศาสนิกชน เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเช้าพรรษา วันออกพรรษา   
มีพระราชพิธี   เช่น การถวายผ้าพระกฐินหลวง พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีฉัตรมงคล
งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา งานถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์
 
ขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ละองค์กร 
จะมีระบบและมีรูปแบบที่วางไว้  แสดงให้บุคลากรเห็นถึงพฤติกรรมที่องค์กรคาดหวัง 
ในระดับสูงขึ้นไปจะมีพิธีการ ประเพณี ที่ปฏิบัติ กันเสมอ เช่นวิธีที่พนักงานเก่าดูแลพนักงานเข้าใหม่ การฉลองเมื่อแผนกประสบความสำเร็จ การจัดงานปีใหม่ การจัดการประชุมในระดับต่างๆ การมอบรางวัล  
 
ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นการสื่อสารแบบหนึ่ง 
ที่ซึ่งสามารถใช้ในการสื่อให้เห็นพฤติกรรมที่ต้องการ ไม่ว่าทางตรง ทางอ้อม 
 
 การสื่อสารภายใน พิธีการ การให้รางวัล การชมเชย จึงถูกใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้

กฏระเบียบ ระเบียบปฏิบ้ติ vs วัฒนธรรม

การมีกฏ มีไว้เพื่อบังคับให้คนในองค์กรปฏิบัติ เป็นการให้ หรือ กำจัด สิทธิริดรอน 
เป็นการสั่ง  เป็นการสอน เป็นการบังคับ ให้คนต้องทำอะไร หรือ ไม่ต้องทำอะไร
การมีกฏเรื่องใด ก็หมายถึงมีการกำหนด การสั่ง การสอน บังคับ ให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการในเรื่องนั้นๆ
องค์กรมักมีกฏในเรื่องสำคัญ จำเป็น เร่งด่วน 
ก็แล้วแต่ว่าแต่ละองค์กร ใส่ใจในรายละเอียดให้คนในองค์กรปฏิบัติอย่างไร
กฏระเบียบ ระเบียบปฏิบัติ จึงทำให้องค์กรแต่ละองค์กร มีสมรรถนะต่างกัน 
 
นโยบายการทำงาน กฏระเบียบ วิธีปฏิบัติต่างๆ ใบพรรณาลักษณะงาน ซึ่งรวมถึงการกำหนด KPI จึงถูกใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรได้

วัฒนธรรมทำงานอย่างไร

ประการแรกผู้จัดการระดับสูงมักรู้กันว่า บริษัทในปัจจุบันมีวัฒนธรรมทำงานลักษณะใด แม้ว่าจะมีแบบเลือนลางก็ตาม ซึ่งแล้วแต่การล้วงลูกหรือการมองออกว่าองค์กรเขาในแต่ละระดับชั้นทำงานกันอย่างไร ซึ่งความสำเร็จในส่วนนี้ จะขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารระดับสูงนั้นสามารถอ่านวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ได้ถูกต้องเพียงใด สามารถขัดเกลาให้เหมาะสมกับความต้องการของบริษัทในปัจจุบันได้อย่างไร
ผู้บริหารระดับสูงที่ประสบความสำเร็จจะสร้างและ คิดสร้างค่านิยมร่วม และมีความเข้าใจความสำคัญของการทำงานร่วมกับคนที่เห็นคุณค่าของวัฒนธรรม
ซึ่งเปรียบเสมือน เป็นตัวละครที่ต้องแสดงบทต่างๆในองค์กร
 

สร้างวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบด้วย ISO

ทำง่ายๆ
โดยเอาองค์ประกอบแต่ละด้านจากข้อกำหนด
มาวิเคราะห์ มาทำ matrix 
แล้วปรับปรุงระบบ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ต้องการ 
ครับ ง่ายแค่นี้เอง
 
สร้างวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบด้วย ISO
 
นึกไม่ออก บอกสถาบันมาตรฐานอังกฤษ ครับ 
 

สรุป 

 การกำหนด การปลูกฝัง การสร้างเอกลักษณ์ โดยการสร้างค่านิยม การสร้างบุคคลตัวอย่าง การสร้างขนบธรรมเนียมประเพณีของบริษัท การสร้างกฏระเบียบ การส่งเสริม การสนันสนุน การถ่ายทอด สื่อสาร การทำให้มีชีวิต ชีวา การให้รางวัล การลงโทษ เป็นเรื่องที่ต้องทำเพื่อสร้าง วัฒนธรรมที่พึงประสงค์ ให้เกิดในองค์กร