ตรวจประเมินเรื่อง วัฒนธรรมองค์กร ตาม ISO45001 ยากไหม
งานตรวจประเมิน วัฒนธรรมองค์กรมีความยากกว่าการหาหลักฐานการสอดคล้องตามปกติ ไม่ว่าการหาหลักฐานหรือการสรุป สอดคล้องต่อกฏหมาย หรือ สอดคล้องต่อระเบียบปฏิบัติ
- เพราะเรื่องที่ตรวจเป็นเรื่อง การตราจประเมินเพื่อหาสิ่งที่ดีกว่า เหมาะกว่ากับการทำตามกระบวนการในปัจจุบัน
- เพราะเรื่องที่ตรวจสอบเป็นเรื่องของ feel ที่ต้องถ่วงดุลกับ fact
- เพราะการใช้เพียงบางหลักฐาน หรือความเห็นใครบางคน ไม่อาจใช้เพื่อฟันธงในเรื่อง วัฒนธรรมองค์กรได้
- เพราะต้องใช้ความสามารถในการจูงใจให้คนทำสิ่งที่ดีกว่า หรือทำมากกว่า
- เพราะต้องตรวจประเมินองค์ประกอบระบบเดิมๆ แต่มุ่งหวัง สิ่งที่ทำได้ ดีกว่า เร็วกว่า เหมาะสมกว่า ได้ผลกว่า
การตรวจประเมิน จึงต้องไล่ตามแต่ละรายการ ซึ่งจะช่วยนำให้เห็นข้อมูล เพื่อสรุปผล เพื่อรวมให้เห็นรากเหตุของปัญหาได้
ก่อนตรวจ
ผู้ตรวจประเมินก่อนตรวจ ควรเข้าใจภาพรวมของปัญหาของการมีวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดี เพื่อให้สามารถจับอาการและรากที่มาของปัญหาได้
ศึกษา ผลลัพธ์ที่ต้องการจากระบบOH&S KPI นโยบายOH&S ที่ระบุไว้ รวมถึงประวัติแนวโน้มสมรรถนะของตัวชี้วัดที่มีต่างๆ
ผู้ตรวจประเมิน ต้องเข้าใจพื้นฐานหลักของวัฒนธรรม ปัญหาที่แสดงว่ามีวัฒนธรรมความปลอดภัยไม่ดี มักเห็นได้จาก :
- ไม่มีความชัดเจนในมาตรฐานความปลอดภัยและความคาดหวัง กำหนดไว้
- มีการมองข้ามสมรรถนะ OH&Sต่ำ ทั้งระดับพนักงานและผู้บริหาร
- มีการทำทำ แต่ทำแค่ติ๊กถูกไม่ติ๊กผิด ทำไปงั้นๆ
- ไม่มีการเรียนรู้จากความผิดพลาด
- ไม่มีความสัญชาติญาณการรับรู้เรื่องความเสี่ยงในงานของตน
- มีแต่การซุบซิบ การสื่อสารไม่ดี ไม่ว่าจากบนลงล่าง (Downward Communication) จากล่างขึ้นบน (Upward Communication) การสื่อสารในแนวนอน (Horizontal Communication) และการสื่อสารแบบต่างหน่วยงาน และต่างระดับ (Diagonal Communication)
- มีการดองเรื่อง ไม่ใส่ใจ ไม่จัดการ หรือจัดการล่าช้ามาก มีการทิ้งเรื่องเนิ่นนาน กับประเด็น OH&S
- การไม่ทำตามกฏเป็นเรื่องปกติขององค์กร ทำเรื่องผิดปกติ ละเลยกฏจนเป็นนิสัย
รายการตรวจสอบ
ประเด็น |
แนวทาง |
มีระบบในการส่งเสริมสนับสนุนการสื่อสารสองทางระหว่างผู้จัดการและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง (ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอาจรวมถึง คนทำงานทั้งระดับบริหารและไม่ใช่ระดับบริหาร สัญญาจ้าง ชั่วคราวประจำ ตัวแทนพนักงาน หรือคนในชุมชน) |
· ตรวจสอบเพื่อพิสูจน์กลไกที่ใช้ในการสื่อสารจากพนักงานที่เป็นประเด็นด้าน OH&S ที่เกี่ยวข้องต่างๆ · ทำการสัมภาษณ์ผู้ทำงานทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงคนทำงานต่างๆ เพื่อพิจารณาประสิทธิผลของการสื่อสารสองทาง |
การทบทวนประสิทธิผลของเอกสารกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ OHS รวมถึง มาตรการควบคุม ที่มีอยู่ |
· ทบทวนบันทึกผลรายงานการตรวจสอบ การตรวจตรา ตรวจติดตามต่างๆขององค์กรที่มี ไม่ว่าประจำเดือน ประจำไตรมาศ ว่าได้ใช้เพื่อการประเมินประสิทธิผลของกฏของขั้นตอนการปฏิบัติ ตามนโนบายเป็นอย่างดีหรือไม่ · ทบทวนผลการทวนสอบต่างๆขององค์กรที่มี ว่าได้มีการพิจารณาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของ OH&S หรือไม่ |
วิธีที่ใช้ในการจัดทำ เป้าหมาย นโยบาย ใหม่ๆ ได้มาจากข้อมูลนำเข้าจากผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสมหรือไม่ (ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอาจรวมถึง คนทำงานทั้งระดับบริหารและไม่ใช่ระดับบริหาร สัญญาจ้าง ชั่วคราวประจำ ตัวแทนพนักงาน หรือคนในชุมชน) |
· ทบทวน กฏ ขั้นตอน นโยบายต่างๆ ว่าได้มาจากการรวบรวมจากผู้มีส่วนได้เสียบ้างเป็นอย่างดีหรือไม่ โดยผู้ทำงานจะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก · ทำการผู้ทำงานว่า ที่ผ่านมาเคยต้องการให้มีนโยบาย เป้าหมายใหม่ๆอะไรบ้าง และสื่อสารให้กับองค์กรหรือไม่ หากไม่ทำไมไม่ หากเคยแล้วองค์กรได้มีการพิจารณาเช่นใด |
กระบวนการเพื่อทบทวนประสิทธิผลของคณะกรรมการความปลอดภัย ในการสนับสนุนส่งเสิรมความปลอดภัย รวมถึงการนำแผนปรับปรุงไปปฏิบัติต่างๆ |
· สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางรวมผู้ทำงานต่างๆ เพื่อทวนสอบประสิทธิผลของคณะกรรมการความปลอดภัยว่าได้ทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดีหรือไม่ · ทวนสอบบันทึกจากการทบทวนของคณะกรรมการความปลอดภัยว่าได้มีผลสรุป ข้อเสนอ สิ่งที่ต้องทำ ที่เกี่ยวข้องกับ OH&S เป็นอย่างดีหรือไม่ · ทวนสอบว่าองค์กรในระดับสูง ได้ทบทวนบันทึกคณะกรรมการความปลอดภัย ในประเด็นด้าน OH&S และได้ทำการปรึกษาหารือ เมื่อจำเป็น อย่างเหมาะสม พอสมพอควรหรือไม่ |
เกณฑ์องค์กรที่ชัด เพื่อแยกระหว่าง การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) ใดที่ต้องการให้มีรายงานเข้าระบบ โดยไม่ต้องเกรงกลัวการโดนลงโทษ |
· ทำการสัมภาษณ์และทบทวน นโยบาย ขั้นตอนปฏิบัติ เพื่อพิจารณาว่าผู้บริหารได้กำหนดพฤติกรรมใดที่ไม่ยอมรับ และ ผู้ทำงานมีความเข้าใจว่า พฤติกรรมใดยอมรับหรือไม่ยอมรับ เพื่อการรายงานเข้าระบบ · ทำการสัมภาษณ์ระดับบริหาร ผู้ทำงาน และ ทวนสอบเอกสารบันทึกต่างๆว่า ผู้บริหารได้เคยมีการเน้นย้ำหรือกำชับในเรื่องการไม่ยอมรับการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) พร้อมทั้งไม่มี หลักฐานใดๆที่แสดงให้เข้าใจได้ว่า ผู้รายงานการกระทำที่ไม่ปลอดภัย(Unsafe Act) ได้รับการลงโทษ |
แบ่งปันข้อมูลเพื่อลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยโดยไม่เกรงกลัวการถูกลงโทษ |
· สัมภาษณ์ผู้บริหาร และ ผู้ทำงานทั่วไป รวมถึงเอกสารหลักฐานต่างๆว่า เพื่อพิสูจน์ว่าผู้บริหารได้ทำการเน้นย้ำ ว่าการให้ข้อมูลที่สามารถลดความเสี่ยงให้กับองค์กร จะไม่ได้รับการลงโทษหรือผลกระทบเชิงลบใดๆ · สัมภาษณ์ผู้บริหาร และ ผู้ทำงานทั่วไป รวมถึงเอกสารหลักฐานต่างๆว่า ผู้ทำงานมีความสบายใจในการให้ข้อมูลกับองค์กร หรือได้เคยให้ข้อมูลบ้างหรือไม่ · ทำการทวนสอบบันทึก เอกสารร้องขอเพื่อการเปลี่ยนแปลง สอบสวนอุบัติเหตุ ว่ามีร่องรอย การขอการเปลี่ยนแปลงจากผู้ทำงานในทุกระดับหรือไม่ · สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางและผู้ทำงาน เพื่อพิจารณาว่ากลไก ข้อเสนอแนะได้รับการพิจารณาและจัดการอย่างเหมาะสม |
สภาพการทำงานที่พนักงานมีความกล้าในการตั้งคำถาม ได้เรียนรู้ เรื่อง OHSก่อนทำเริ่มตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย |
· สัมภาษณ์ผู้บริหาร และ ผู้ทำงานทั่วไป รวมถึงเอกสารหลักฐานต่างๆสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือคาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการสอบสวนอุบัติการณ์ การตรวจประเมิน หรือกิจกรรมด้านOH&S ที่เกี่ยวข้องกับการระบุปัญหา เพื่อพิสูจน์ว่ามีอิสระในการให้ความคิดเห็นหรือมีการตั้งประเด็นคำถาม รวมถึงการเห็นพร้องยอมรับผลสรุป |
มีการสำรวจความเห็นเรื่องวัฒนธรรมองค์กรด้านOH&S ตามรอบเวลา เพื่อวัดประสิทธิผลด้ายการปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กรOH&S |
· ตรวจสอบระบบการสำรวจไม่ว่ากระทำแบบปากเปล่าหรือเอกสารที่จัดทำ เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่ได้รับฟังจากการสัมภาษณ์กับผลที่ได้จาการสำรวจนั้นสอดคล้องกันหรือไม่ |
องค์กรมีความเป็นผู้นำในด้านOH&S มีการแบ่งปันผลลัพธ์และความรู้ ในอุตสาหกรรม |
· ทวนสอบกับMRหรือเจ้าหน้าที่ประสานงาน ว่าองค์กรได้เป็นสมาชิคของหน่วยงานใดและมีกิจกรรมดังกล่าวบ้างหรือไม่ |
อัตราการลาออกของพนักงาน (Turnover rate) ของผู้ทำงานทั้งระดับผู้บริหารและตำแหน่งที่ไม่ใช่ระดับบริหาร |
· อัตราการเข้าออกสูงอาจเป็นสิ่งชี้วัดของการไม่รับฟัง วัฒนธรรมความปลอดภัยที่ต่ำ หรือปัญหาอื่นๆ สัมภาษณ์เพื่อนของพนักงานที่ได้ลาออกไป จากรอบตรวจประเมินที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาเหตุผลในการลาออกว่ามีนัยยะใดๆที่เกิดจากปัญหาข้างต้นหรือไม่ |
ผู้มีส่วนได้เสียได้มีส่วนร่วมในการสร้างความเชื่อมั่นเชิงบวกแล วัฒนธรรมการทำงานแบบเปิด (ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอาจรวมถึง คนทำงานทั้งระดับบริหารและไม่ใช่ระดับบริหาร สัญญาจ้าง ชั่วคราวประจำ ตัวแทนพนักงาน หรือคนในชุมชน) |
· สัมภาษณ์ พนักงานทุกระดับชั้นจากบนลงล่าง และสังเกตุว่ามีลักษณะการทำงานแบบให้ความเชื่อมั่นและเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ หรือทำงานภายใต้ความหวาดกลัวทำตามคำสั่งโดยไม่มีสิทธิโต้แย้งใดหรือไม่ |
มีการกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการ คุณค่าร่วม และ มีการเน้นย้ำในการอบรม หรือการประชุมต่างๆขององค์กร |
· ทวนสอบเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง ว่ามีหลักฐานให้เห็นได้หรือไม่ · ทวนสอบเอกสารประกอบการอบรม หรือ วิดีทัศน์ต่างๆ ว่าได้มีหัวข้อพฤติกรรมที่ต้องการต่อผู้ทำงานในส่วนงานต่างๆหรือไม่ · สัมภาษณ์คณะกรรมการความปลอดภัย ว่าได้มีการพูดคุยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ต้องการในวาระการประชุมตางๆ · สังเกตุพฤติกรรมในการทำงานของคนในองค์กร โทนในสื่อสารการประชุมจากบันทึก การพูดคุยประเด็น การนำเสนอต่างๆจากผู้เข้าร่วมประชุม ที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้ · สังเกตุบอร์ดประชาสัมพันธ์และ การเอาจริงเอาจัง และการให้ความสำคัญสำหรับการโปรโมท พฤติกรรมที่ต้องการ |
ความเป็นผู้นำเห็นได้อย่างเด่นชัดในการสนับสนุนระบบ OH&S ทั้งผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง |
· สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลาง และ หัวหน้างาน เพื่อพิจารณาว่า มีความแตกต่างในมุมมองความคิดเห็นในเรื่องวัฒนธรรมองค์กรและต่อองค์ประกอบของระบบ OH&S อย่างไรหรือไม่ |
การยอมรับเรื่องผิดปกติจนเป็นเรื่องปกติ |
· ทำการสังเกตุ ทบทวนเอกสารระบบ ทำการสัมภาษณ์ ว่ามีการกระทำใดที่ไม่ทำตามกฏ ไม่ควบคุม ปล่อยปละละเลยต่อมาตรการความปลอดภัย มีสิ่งที่ไม่รับการจัดการหรือปล่อยให้ปัญหาเพิ่มพูน อยู่หรือไม่ · ทำการสังเกตุ ทบทวนเอกสารระบบ ทำการสัมภาษณ์ เพื่อพิสูจน์ว่า Near miss ไม่ได้รับการจัดการ เพราะมองว่าเป็นเรื่องปกติ มีอยู่หรือไม่ · ทวนสอบบันทึก เพื่อพิสูจน์ว่า เครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์ความปลอดภัย กิจกรรมการอบรม กิจกรรมการตรวจสอบความปลอดภัย ได้ถูกละเลยเพิกเฉย โดยไม่มีคำอธิบายที่เหมาะสม หรือโดยไม่มีมาตรการควบคุมชั่วคราวหรือไม่ · ผู้ตรวจประเมิน ทำการทบทวนวินิจฉัยรากเหตุของการเกิดอุบัติการณ์ต่างๆ ที่เกิดคล้ายๆกันเกิดต่อเนื่องอยู่หรือไม่ ซึ่งอาจเกิดจากรากเหตุไม่ได้รับการระบุ ซึ่งอาจเป็นการแสดงให้เห็นว่ามีการทำเรื่องผิดปกติจนเป็นปกติ · สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางและผู้ทำงาน เพื่อสังเกตุเห็นทัศนคติการยอมรับความเสี่ยง เชื่อโชคชะตา ปล่อยให้เป็นไป บ้างหรือไม่ |
มีความเสี่ยงในอันตรายหลักแต่ไม่มีมาตรการควบคุม การสัมผัสสารเคมี |
· การไม่มีสำนึกเรื่องความเสี่ยง อาจเกิดจากทำงานในส่วนนั้นมานานแต่ไม่เคยประสบปัญหา ทำให้เกิดการเลินเล่อมองไม่เห็นปัญหา ผู้ตรวจทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางและคนงานระดับล่าง เพื่อหาความรู้ ความตระหนักรับรู้ ในอันตรายต่างๆ และผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ที่มีโอกาศเกิดไม่บ่อยไม่เกิดรายวัน หรือไม่เคยเกิดในองค์กร |
การให้ความสนใจต่อกิจกรรมความปลอดภัยและมีการใช้เพื่อการลดโอกาสการเกิด ลดความรุนแรง |
· สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางและผู้ทำงานระดับล่าง เพื่อประเมินว่า กิจกรรมการวิเคราะห์ความเสี่ยง การสอบสวนอุบัติการณ์ การตรวจประเมิน ได้ถูกให้ความสนใจ ให้เป็นกิจกรรมที่สำคัญ มีการให้ความสนใจจากฝ่ายบริหารขององค์กรหรือไม่ |
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ OH&S ถูกทำแบบขอไปทีหรือไม่ |
· สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางและคนงานระดับล่าง ว่ากิจกรรมที่ทำเป็นประจำเช่นการประเมินความเสี่ยง การตรวจสอบ การตรวจตราประจำเดือน การตรวจติดตามภายใน เพื่อพิสูจน์ว่ากิจกรรมได้ถูกกระทำอย่างจริงจัง เพื่อการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุง เพื่อพัฒนาองค์กรด้านOH&S หรือไม่ หรือทำกันแบบเพียงทำให้มี · สัมภาษณ์ผู้ที่ทำกิจกรรม ไม่ว่าคณะกรรมการความปลอดภัย ผู้ตรวจสอบ ผู้ตรวจประเมิน ผู้ทำการประเมินความเสี่ยง ว่าได้รับการส่งเสริมสนับสนุนใดๆจากผู้บริหารเป็นอย่างดีหรือไม่ ล่าสุดได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอะไร · ทบทวนบันทึก เอกสารด้าน OH&S ว่ามักได้รับความสนใจหรือมีการทิ้งถ่วง ดอง กว่าจะเสร็จใช้เวลานานและต้องติดตามโดยไม่จำเป็นมากหรือไม่ · ทวนสอบ บันทึกเอกสารที่สำคัญเช่น แบบประเมินความเสี่ยง บันทึกการสอบสวนอุบัติเหตุ ว่าได้ถูกจัดทำแบบขอไปทีหรือไม่ |
มีการตั้งคำถามที่ดีกับสิ่งที่ทำ และมีบรรยากาศการเรียนรู้ |
· สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางและคนงานระดับล่างเพื่อประเมินว่ามีทัศนคติในการทำงานโดยไม่รู้เหตุรู้ผล เพียงทำตามๆกันทำเพราะคนเก่าๆก็ทำหรือไม่ มีให้เห็นถึงการไม่รู้อันตราย ไม่รู้ความเสี่ยง สำหรับกิจกรรมที่สำคัญหรือไม่ · ตรวจสอบว่า มีสิ่งบอกเหตุหรือไม่ว่า มีการให้ข้อมูลด้าน OH&S ให้กับผู้ที่รับผิดชอบเสมอ แต่ไม่เคยได้รับความสนใจ |
การเชื่อใจกัน |
สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางและคนงานระดับล่าง เพื่อพิสูจน์ว่า · พนักงานเชื่อมั่นในผู้จัดการ ว่าได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องในการสน้บสนุน OH&S · ผู้จัดการเชือมั่นว่าพนักงานจะทำหน้าที่รับผิดรับชอบต่อความปลอดภัย และ รายงานปัญหาที่มีนัยยะ · เพื่อนร่วมงานเชื่อมั่นกันในพฤติกรรมของกันและกัน · พนักงานเชื่อมั่นการมีอยู่ของระบบ และการผิดพลาดใดๆจะสามารถรายงานได้โดยปราศจากความกลัว |
ปัญหาด้านOH&S ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว |
· ทวนสอบเอกสารต่างๆเพื่อพิสูจน์ว่า ข้อเสนอแนะและกิจกรรมติดตามการแก้ไข ได้รับการจัดการเป็นอย่างดี ปัญหาได้ถูกแก้อย่างทันเวลาและควรแก่เหตุเสมอ |
ให้ความสำคัญต่อการสื่อสารและตอบสนองต่อการเรียนรู้ที่ได้จากการสอบสวนอุบัติการณ์ การประเมินความเสี่ยง การตรวจตรา การตรวจประเมิน |
· ทบทวนบันทึกการประชุมและเอกสารอื่นๆ ว่าความรู้ ข้อเสนอแนะ ใดๆ ได้รับการสื่อสาร เผยแพร่เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับผู้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับอันตรายนั้นโดยตรง · สัมภาษณ์เพื่อพิสูจน์ว่าผู้ทำงานได้รับการสื่อสาร ข้อมูล ความรู้ที่ได้จากการสอบสวนอุบัติการณ์ การประเมินความเสี่ยง ต่างๆเป็นอย่างดี |
ผลลัพธ์ความคาดหวังด้าน OH&S ได้แปลงเป็นเป้าหมายที่วัดได้ เพื่อพัฒนาให้ระบบ OH&S ให้มีสมรรถนะที่ดีขึ้น |
· ทวนสอบเอกสาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายองค์กรรวม ทำการพิสูจน์ว่าได้รับการนำใช้ในการจัดทำดัชนีชี้วัด OHS และ สอดคล้อง สะท้อนเป็นอย่างดี |
การตัดสินใจระดับสูง รวมถึงการกำหนดทรัพยากร งบประมาณ โครงการ ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อ OH&S |
· ทวนสอบ เอกสารการกำกับดูแลกิจการระดับบน สมรรถนะด้านการเงิน แผนกลยุทธ์ การให้ทรัพยากร การลงทุนทำโครงการ การให้งบประมาณ ว่าได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ OH&S บ้างหรือไม่ |
สนับสนุนต่อการเป็นผู้นำด้าน OH&S |
· ทวนสอบอัตราการเข้าออกของพนักงานสำคัญในด้าน OH&S เช่น OH&S manager เจ้าหน้าทีความปลอดภัย เพื่อพิสูจน์ว่าเหตุผลที่มีการเข้าออกสูงหรือตำแหน่งว่าง มีเหตุเกิดจากการไม่ได้ให้เวลาพอ ไม่ได้รับความร่วมมือ หรือขาดแคลนทรัพยากรหรือไม่ |
KPI ด้าน OH&S |
· ผู้ตรวจประเมินทวนสอบว่า KPI ที่ได้จัดทำ ว่ามีปริมาณตัวชึ้วัดและมีความเหมาะสมไม่ว่าเชิงรุก หรือเชิงรับ หรือไม่ · สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางและผู้ทำงาน ว่าได้รับทราบดัชนีชี้วัดนี้และเข้าใจโดยผู้ที่รับผิดรับชอบหรือไม่ รวมถึงผู้ทำหน้าที่สรุปรายงาน · ทำการทวนสอบเอกสารดัชนีชี้วัด ว่าจัดทำได้อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง มีความตรงไปตรงมา ไม่มีบิดเบือนหรือเล่นตัวเลข · ทำการทวนสอบดัชนีชี้วัดนี้ว่ามีความชัดเจนต่อผู้บริหาร เพื่อแสดงให้เห็นสิ่งที่ตอ้งเปลี่ยนแปลง ได้ถูกใช้เป็นตัวชึ้ให้เห็นสมรรถนะ และดำเนินการแก้ไขปรับปรุง |
มีการทบทวนฝ่ายบริหารเพื่อติดตามประเด็นด้านความปลอดภัยที่สำคัญ และ สมรรถนของระบบการจัดการ |
· ทำการทวนสอบบันทึกและหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ว่ารอบเวลา ความถี่ห่างเหมาะสม ถูกใช้เพื่อการพิจารณาสมรรถนะด้าน OH&S เป็นอย่างดี ในการประชุมมีการให้ข้อมูลหลักฐานสนับสนุนที่เหมาะสม เพื่อประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าการคงไว้หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมในองค์กร หรือ การเพิ่มเติมดัชนีวัด · ทวนสอบเอกสารว่า สมรรถนะด้าน OH&S ได้รายงานขึ้นสู่ระดับสูงขององค์กรจริง ไม่ว่าบอร์ดบริหารหรือ CEO องค์กร |
ความสามารถ ผู้บริหารระดับสูงมีความเข้าใจประเด็นด้านเทคนิค และ OH&S Standard |
· สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง เพื่อพิสูจน์ความเข้าใจองค์ประกอบของระบบ OHS เพื่อพิสูจน์ว่า องค์ประกอบใดของ OH&S ประยุกต์ใช้หรือโยงใยต่อเนื่องกันอย่างไร ซึ่งไม่จำเป็นต้องเข้าใจลึกซี้ง แต่ต้องกว้างพอ · กลุ่มผู้บริหารได้รับการทำให้รู้องค์ประกอบของระบบอย่างเหมาะสม |
ความสามารถ ผู้บริหารระดับกลาง และ MR |
· สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางและMRเรื่องความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดของข้อกำหนดในแต่ละองค์ประกอบ และต้องมีความรู้ลึกข้อกำหนดในงานที่ตนต้องรับผิดชอบ องค์กรมีแผนอบรมในส่วนนี้ให้ |
ความสามารถ พนักงานสนับสนุน |
สัมภาษณ์พนักงานสนับสนุน เพื่อพิสูจน์ ความเข้าใจองค์ประกอบของระบบ โดยไม่คาดหวังว่าต้องรู้ละเอียดลึก องค์กรมีแผนอบรมส่วนนี้ให้ |
ผู้ทำงานทั่วไป ที่ไม่ใช่ผู้บริหาร |
· สัมภาษณ์เพื่อพิสูจน์ ความเข้าใจในระบบพื้นฐานโดยทั่วไป · สำหรับผู้ที่ทำงานร่วมกับพนักงานสนับสนุน ต้องมีความเข้าใจในข้อกำหนดระบบที่เกี่ยวข้อง โดยระดับความลึกไม่จำเป็นต้องเท่ากับคนรับผิดชอบตรงในการออกแบบระบบและการนำระบบไปปฏิบัติใช้ · ผู้ทำงานทั่วไป ต้องมีความรู้อันตรายในพื้นที่ของตนและรู้มาตรการควบคุมที่ใช้เป็นอย่างดี |
เป้า KPI safety ได้ถูกควบรวมกับ KPI ทั่วไปของพนักงานที่ใช้ประกอบการขึ้นเงินเดือน และ สำหรับการคัดเลือกผู้รับเหมา |
· ทบทวน เป้าหมายสมรรถนะพนักงานหรือเอกสารคล้ายคลึง ว่าได้มีการพิจารณานำเอาประเด็น OH&S มาร่วมด้วยหรือไม่ · พิจารณาว่า KPI safety ทำในลักษณะวัดได้หรือไม่ · การวัดสมรรถนด้วยระบบ KPI นี้เป็นทางการ ได้มีการกำกับดูแลโดยองค์กรหรือไม่ |
ไม่สับสนในอำนาจหน้าที่ |
· ทบทวน JD และทบทวน KPIส่วนบุคคล เพื่อพิสูจน์ว่าได้มีการระบุชัดเจน สอดคล้อง กัน · สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางและผู้ทำงาน เพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีความสับสน แต่ละคนมีความเข้าใจในอำนาจหน้านี้ที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละองค์ประกอบของระบบ และสอดคล้องกับเอกสารที่กำหนดอำนาจหน้าที่ที่มี |
OH&S มีสัดส่วนที่สำคัญ ต่อการขึ้นเงินเดือน การให้โบนัส |
· สัมภาษณ์ วิธีการในการเชื่อมโยงจากการบรรลุ KPI safety สู่การขึ้นเงินเดือน · ทบทวนเอกสาร กฏระเบียบในการปรับการขึ้นเงินเดือนโบนัสว่ากำหนดไว้อย่างไร |
สัดส่วนต่อการปรับตำแหน่ง |
· ทำการทวนสอบมาตรการวิธีการในการพิจารณาปรับตำแหน่ง ว่าได้ใช้ประเด็นเรื่อง OH&S เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาอย่างไร มีกำหนดนโยบายและวิธีการไว้หรือไม่ |
การกำหนดอำนาจหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ OH&S |
· สัมภาษณ์ระดับสูงและกลาง ว่ามีส่วนต่อการผลักดันสมรรถนะ OH&S กันอย่างไร และ กำหนดผู้รับผิดรับชอบต่อสมรรถนะแต่ละด้านอย่างไร |
การบังคับบัญชา ผู้รับผิดชอบผู้นำสำหรับ OH&Sมีกำหนด ทั้งขององค์กรและฝ่ายแผนก |
· ตรวจสอบเอกสารในระบบ ที่มีโครงสร้าง กำหนด รับผิดรับชอบตอ่ OHS อย่างชัดเจนหรือไม่ · ตรวจสอบ เอกสารกำหนดกลยุทธ ทิศทางองค์กร ว่าได้มีประเด็นเรื่อง OHS บ้างหรือไม่ · ทำการสัมภาษณ์ หัวหน้างาน เพื่อพิสูจน์ ว่ามีความรู้ ประสบการณ์ มีอำนาจอย่างเพียงพอ สำหรับการตัดสินใจที่สำคัญที่เกี่ยวกับ OH&S ที่เกี่ยวข้อง และ สมรรถนะ OH&S ที่ต้องการหรือไม่ |
การบังคับบัญชา การยอมรับการเปลี่ยนแปลง |
· ทำการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมผู้ทำงาน เพื่อพิสูจน์ว่า เมื่อมีการเปลี่ยนวิธีการทำงาน นโยบาย มาตรการควบคุม มีลักษณะการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิบัติหรือไม่ |
การเข้าใจความเสี่ยง และ ohs โดยภาพรวม และ ยอมรับการระบุ Heigh risk |
ทำการทวนสอบ เอกสารประเมินความเสี่ยง เพื่อพิสูจน์ว่า ได้มีความพยายาม ลดระดับความเสี่ยง (รุนแรง,โอกาสการเกิด) ระหว่างประเมินลง ไม่ว่าด้วยความไม่เข้าใจหรือเหตุผลอื่นใด หรือไม่ |
END