แผนการรับมือต่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดจากวัตถุอันตราย
จุดประสงค์ของแผนการจัดการวัตถุอันตราย คือ การป้องกันหรือลดความอันตรายที่มีต่อทางด้านสาธารณสุข, ความปลอดภัย,และสภาพแวดล้อม อันเกิดจากการรั่วไหลหรือการปลดปล่อยวัตถุอันตรายประเภทใดๆที่อาจจะเกิดขึ้น กำหนดรูปแบบของการรั่วไหลที่อาจจะเกิดขึ้น (หก, รั่วไหล, ปลดปล่อย, การชะล้าง และอื่นๆ) กำหนดวิธีปฏิบัติสำหรับบุคลากรเพื่อให้นำไปปฏิบัติตามเมื่อเกิดสถานการณ์ กำหนดกระบวนการทำความสะอาด (รวมถึง การกำจัดการปนเปื้อน) อธิบายและระบุวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดการการรั่วไหลของวัตถุอันตราย อธิบายความจำเป็นในการขนส่ง แจ้งพนักงานเกี่ยวกับสถานที่จัดเก็บเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (safety data sheets) (SDS)
ซึีงการเขียนแผนนี้จะมากจะน้อย ก็แล้วแต่ความเป็นอันตราย และ ปริมาณ ที่อาจเกิดเหตุการที่ไม่พึงประสงค์ และ รวมถึงความเกี่ยวพันในมุมห่วงโซ่อุปทาน
สำหรับ แผนรับมือ การเขียนแผน เป็นการเขียนให้คนอ่าน เพื่อให้ คนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง กรณีนี้ต้องการให้คนสามารถตอบสนองได้เร็ว ได้ไว และ ลดผลกระทบให้มากที่สุด จึงต้องเขียนให้สั้น กระชับ อะไรที่ต้องทำ ห้ามทำ และ ทำอย่างไร
สิ่งที่ต้องระบุ และ ลำดับขั้นตอน ในแผนการรับมือควรมีเนื่อหาอย่างน้อย ตามนี้
1. แจ้งพนักงานให้หลีกเลี่ยงการสูดดมไอของวัตถุอันตราย, ถ้ามี
2. แจ้งเตือนพนักงานทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับสถานที่เกิดเหตุ
3. โทรแจ้งสถานีตำรวจ
4. โทรแจ้งสถานีดับเพลิง
5. กำหนดผู้ทำการตัดสินใจและสิ่งที่ต้องพิจารณาสำหรับกรณีที่ต้องอพยพออกจากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
6. ปิดอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างและห้ามไม่ให้พนักงานที่ไม่มีความเกี่ยวข้องเข้าภายในอาคาร
7. แจ้งปิดการใช้งานระบบสาธารณูปโภค (น้ำ, ไฟฟ้า, ก๊าซธรรมชาติ) ในสถานที่เกิดเหตุ
8. ปล่อยหรือเปิดระบบระบายควันทิ้งไว้ในกรณีที่สามารถทำได้อย่างปลอดภัย
9. แจ้งไปยังคณะกรรมการการจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉินและสาธารณสุขท้องถิ่น
10. ให้ข้อมูลต่อไปนี้แก่ผู้ที่มีอำนาจควบคุมในสถานการณ์
a. ตำแหน่งของสถานที่เกิดเหตุ
b. ข้อมูลต่างๆของวัตถุอันตราย
c. แผนผังของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงทางออกและทางเข้า
11. แจ้งไปยังสำนักงานประชาสัมพันธ์ ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของสถานการณ์
12. เตรียมเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุอันตรายและวิธีดำเนินการให้พร้อม และส่งให้กับศูนย์ควบคุมการดำเนินการและสำนักงานประชาสัมพันธ์