พิมพ์
หมวด: บทความทั่วไป

ข้อกำหนดที่ดูเหมือนเข้าใจได้ยาก และทำการตรวจประเมินการสอดคล้องได้ลำบากคือข้อกำหนดที่อยู่ในข้อ 4

ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่สำคัญในการวางระบบเพื่อการรับรอง บทความนี้จะให้แนวทางในการตรวจประเมินตามข้อกำหนด 4.2 ความเข้าใจองค์กรและข้อกำหนดผู้มีส่วนได้เสีย

 

 

หลักฐานการตรวจประเมิน

หลักฐานการตรวจประเมินสามารถได้จาก เอกสารสารสนเทศ หรือ อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ

  • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารคุณภาพ (ผู้ที่สร้างหรือรับ ผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการให้สอดคล้องกับข้อกำหนดลูกค้าและข้อกำหนดของกฎหมายรวมถึงข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ )
  • ข้อกำหนดของของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารคุณภาพ
  • ทุกองค์กรมีผู้มีส่วนได้เสียหลายกลุ่ม  ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็มีความต้องการและความคาดหวัง  ผู้มีส่วนได้เสียประกอบด้วย :
    • ลูกค้าและผู้ใช้
    • บุคลากรในองค์กร
    • เจ้าของ/ผู้ลงทุน (เช่น ผู้ถือหุ้น รายบุคคลหรือกลุ่ม รวมถึงภาคสาธารณะซึ่งมีส่วนได้เสียเฉพาะด้านกับองค์กร)
    • ผู้ส่งมอบ และพันธมิตร  
    • สังคม ในรูปของชุมชน หรือสาธารณชนผู้ได้รับผลกระทบจากองค์กร หรือผลิตภัณฑ์ขององค์กร

ตัวอย่าง ผู้มีส่วนได้เสียที่มีนัยยะและข้อกำหนดที่อาจรวมถึง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ความต้องการและความคาดหวัง

ลูกค้าและผู้ใช้

คุณภาพ ราคา และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์

เจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้น รวมถึงภาคสาธารณะซึ่งมีส่วนได้เสียเฉพาะด้านกับองค์กร

ผลกำไรที่ต่อเนื่อง

ความโปร่งใส

บุคคลภายในองค์กร

สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

ความมั่นคงในการทำงาน

การได้รับคำชื่นชมในผลงานและรางวัลตอบแทน

ซัพพลายเออร์และคู่ค้า

ผลประโยชน์ร่วมกันและความต่อเนื่อง

สังคม

การปกป้องสิ่งแวดล้อม

ความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม

การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและระเบียบต่างๆ

ตัวอย่างเพิ่มเติม   

ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าและผู้ใช้  ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ขององค์กร  อาจประกอบด้วย

  • ความเป็นไปตามข้อกำหนด
  • ความเชื่อถือได้
  • จัดให้มีอย่างต่อเนื่อง
  • การส่งมอบ
  • กิจกรรมหลังการผลิต (เป็นการรับประกันการบริการ)
  • ราคา  และค่าใช้จ่ายตามวงจรอายุ
  • ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์  และ
  • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ความต้องการความคาดหวัง ศักยภาพของประโยชน์จากการสร้างพันธมิตรกับผู้ส่งมอบแก่องค์กร  เพื่อสรรค์สร้างมูลค่าร่วมกันทั้งสองฝ่าย  พันธมิตรควรอยู่บนพื้นฐานของการกำหนดกลยุทธ์ร่วมกัน  การแบ่งปันความรู้ ความเสี่ยง และกำไร  การสร้างพันธมิตรองค์กรควร :

  • ระบุผู้ส่งมอบที่สำคัญ และองค์กรอื่น  ว่ามีศักยภาพที่จะเป็นพันธมิตร
  • ร่วมกำหนดและทำความเข้าใจถึงความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าให้ชัดเจน
  • กำหนดเป้าหมายเพื่อประกันถึงความเป็นไปได้ในการเป็นพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง

         

ความต้องการความคาดหวัง ถึงความสัมพันธ์กับสังคม  องค์กรควร :

  • แสดงความรับผิดชอบ ด้านสุขภาพ และ ความปลอดภัย
  • พิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  รวมถึงการอนุรักษ์พลังงาน และ ทรัพยากรธรรมชาติ
  • ระบุถึงข้อบัญญัติด้านกฎหมายที่ต้องปฏิบัติ  และ
  • ระบุถึงผลกระทบในปัจจุบัน หรือ ศักยภาพที่จะมีของผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ และกิจกรรม  ต่อสังคมในเรื่องทั่วไป  และต่อชุมชนท้องถิ่นในเรื่องเฉพาะเจาะจง

หมายเหตุ – แม้ว่าแต่ละองค์กรจะมีการจัดแบ่งประเภทผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน (เช่น ลูกค้า เจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้น ซัพพลายเออร์และคู่ค้า และบุคคลภายในองค์กร เป็นต้น) แต่องค์ประกอบปลีกย่อยของแต่ละประเภทอาจแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเวลาผ่านไปและอาจมีความแตกต่างกันระหว่างแต่ละองค์กร แต่ละภาคธุรกิจ ตลอดจนแต่ละประเทศและวัฒนธรรม 

 

แนะนำ

ผู้ตรวจประเมินควรยืนยันว่า ผู้บริหารระดับสูง มีความเข้าใจความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารคุณภาพ ไม่ว่าด้านบวกหรือลบต่อการจัดการองค์กรโดยรวม (เช่น แผนกลยุทธ์)

ผู้ตรวจประเมินควรพิสูจน์ว่าองค์กรได้ระบุข้อกำหนดผู้มีส่วนได้เสียที่ซึ่งองค์กรได้ตัดสินใจว่าเกี่ยวข้องไม่ว่าด้วยความจำเป็น (สัญญา ข้อกำหนดลูกค้า ตามเงื่อนไขการประกอบกิจการ)หรือตามความต้องการขององค์กรเอง  ผู้ตรวจต้องเข้าใจว่าข้อกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนี้อาจเกี่ยวข้องกับระบบการบริหารคุณภาพและอาจไม่ โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มที่คิดว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง

ผู้ตรวจประเมินควรพิสูจน์ว่า ”ความรู้นี้” ได้รับความพยายามนำไปใช้ในการวางแผน ดำเนินการ และการปฏิบัติของระบบการจัดการ

TIP

ประเด็นการตรวจสอบของผู้ตรวจประเมิน
  • ตรวจสอบว่าองค์กรได้กำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารคุณภาพอย่างครบถ้วนหรือไม่
  • ตรวจสอบว่าองค์กรได้กำหนดข้อกำหนดของของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารคุณภาพครบถ้วนหรือไม่
  • ตรวจสอบว่าองค์กรได้ทำการเฝ้าติดตามและทบทวน สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี เหมาะสม เพียงพอหรือไม่

 

หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม ถามได้เลยนะครับ ไม่ต้องเกรงใจนะครับผม